คอนกรีตผสมเสร็จ กับประเภทในการใช้งาน

คอนกรีตผสมเสร็จ กับประเภทในการใช้งาน คอนกรีตผสมเสร็จมีหลายประเภท เราควรเลือกให้เหมาะสมกับประเภทในการใช้งาน ซึ่งคอนกรีตผสมเสร็จที่ดีควรที่จะมีการใช้สัดส่วนที่เหมาะสม มีการควบคุมการทำคออนกรีต ตั้งแต่การชั่งตวง การผสม การเท การแต่งผิว การบ่ม ซึ่งคอนกรีตผสมเสร็จ ความมีคุณสมบัติที่ดีทั้งในสภาพที่เหลวและในสภาพที่แข็งตัวแล้ว คอนกรีตผสมเสร็จมีให้เลือกหลากหลายไม่ว่าจะเป็นแบบใช้งานทั่วไป แบบที่ทนทานกับการใช้งานหนักๆ และแบบพิเศษเฉพาะทางจริง ๆ หากมีการแบ่งประเภทคอนกรีตตามการใช้งาน เราสามารถแบ่งได้ดังนี้   คอนกรีตมาตรฐาน คือคอนกรีตผสมเสร็จทั่วไป ออกแบบให้มีกำลังอัดตั้งแต่ 180-400 กก./ตร.ซม. เหมาะสำหรับงานโครงสร้างทั่วไปเช่น เสา คาน ฐานราก เป็นต้น   คอนกรีตกันซึม เป็นคอนกรีตที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความทึบน้ำ น้ำจึงซึมผ่านได้ยากหรืออัตราการไหลผ่านของน้ำเป็นไปได้ช้า เหมาะสำหรับงาน สระว่ายน้ำ ถังเก็บน้ำ พื้นห้องน้ำ รวมทั้งโครงสร้างที่ต้องสัมผัสน้ำใต้ดิน คอนกรีตสี เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาสำหรับงานตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม โดยผสมสีลงไปในคอนกรีต เพื่อให้ได้เฉดสีตามที่ต้องการ นิยมใช้เป็นคอนกรีตเททับหน้า หรืองานตกแต่งอื่นๆ เช่น ทางเท้า ลานบริเวณหน้าศูนย์การค้า คอนกรีตพรุน คอนกรีตที่ถูกออกแบบมาให้มีปริมาณช่องว่างในเนื้อคอนกรีตที่เหมาะสม สามารถระบายน้ำได้ดี เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ต้องการการระบายน้ำได้ดี เช่น พื้นลานจอดรถ…

6 วิธีเช็คคุณภาพของ ปูนซีเมนต์ ง่ายนิดเดียว คุณเองก็ทำได้

ปูนซีเมนต์ เป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่ถูกใช้มากที่สุดในวงการก่อสร้าง ความแข็งแรงของงานโครงสร้างจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง และหนึ่งในนั้นก็คือคุณภาพของ ปูนซีเมนต์ที่ใช้งาน ซึ่งวันนี้ทาง YELLO วัสดุก่อสร้างก็มี 6 วิธีเช็คคุณภาพของปูนซีเมนต์ มาฝากพี่ๆ ทุกคนกันนะจ๊ะ การเช็คคุณภาพของปูนซีเมนต์ เราสามารถทดสอบด้วยวิธีง่ายๆ ตามด้านล่างนี้ 1. ทดสอบสี สีที่ดีที่สุดของปูนซีเมนต์ คือสีเทา และสีควรออกไปในโทนแกมเขียว (greenish shade) สีของปูนซีเมนต์จะเป็นตัวประเมิณคร่าวๆ ถึงคุณภาพของซีเมนต์ว่ามีส่วนผสมของปูนขาวหรือดินเหนียวมากเกินไปหรือไม่ หากสัดส่วนใดมากเกินไป สีของซีเมนต์จะไม่ใช่สีเทาแกมเขียว   2. สังเกตการยึดเกาะกันเป็นก้อนของปูนซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ที่ดีไม่ควรเกาะกันเป็นก้อน ควรเป็นผงละเอียด เพราะถ้าหากซีเมนต์เกาะกันเป็นก้อน แสดงว่ามีความชื้นอยู่มาก และบรรจุภัณฑ์ควรอยู่ในสภาพดี ไม่มีรู หรือชำรุด เนื่องจากอาจทำให้ความชื้นเข้าไปได้   3. ทดสอบด้วยอุณภูมิ ง่ายมากๆเลย คือการใช้มือล้วงเข้าไปสัมผัส หากซีเมนต์มีคุณภาพที่ดี มันจะทำให้พี่ๆ รู้สึกเย็นๆ   4. ทดสอบด้วยการลอย ในการทดสอบการลอย เราจะนำปูนซีเมนต์จำนวนหนึ่งมาใส่ไว้บนฝ่ามือ และโปรยมันลงไปในน้ำที่อยู่ในถ้วย ถ้าหากซีเมนต์ลอยอยู่บนน้ำแสดงว่าซีเมนต์มีคุณภาพแย่ เนื่องจากปกติแล้ว ซีเมนต์ที่มีคุณภาพดี ควรมีน้ำหนักมากกว่าน้ำนั่นเอง   5.…

การเทคอนกรีตทับหน้า และขั้นตอนการเทคอนกรีตทับหน้าแบบ

การเทคอนกรีตทับหน้า คือการเทคอนกรีตทับหน้าพื้นคอนกรีตเดิมที่มีอยู่ โดยมักใช้ซ่อมแซมผิวหน้าคอนกรีตเดิมที่มีความเสียหายหรือสึกกร่อน หรือต้องการปรับปรุงผิวหน้าพื้นเดิมให้แข็งแกร่งขึ้น โดยรูปแบบการเทคอนกรีตทับหน้านิยมทำกันมี 3 แบบ 1. การเทคอนกรีตทับแบบเชื่อมประสานสมบูรณ์ เป็นการเททับหลังจากกระเทาะผิวเดิม ทำความสะอาดผิว และทาวัสดุเลื่อมประสาน โดยการใช้วัสดุเชื่อมประสานจะทำให้คอนกรีตที่เทใหม่เชื่อมกับพื้นเดิมได้ดี ก่อนที่จะเทคอนกรีตทับหน้าตามลงไป รูปแบบนี้ความหนาของคอนกรีตต่ำสุดที่เทได้ 2.5 – 5 เซนติเมตร โดยพื้นเดิมต้องอยู่ในสภาพดี สะอาด ไม่มีรอยแตกร้าว การเทคอนกรีตที่มีความหนาต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตรมีโอกาสเกิดการแตกร้าว การโก่ง และหลุดร่อนของชั้นเททับหน้า เพราะโดยทั่วไปการเทคอนกรีตทับหน้าที่มีความหนาน้อยจะใช้คอนกรีตที่ผสมหินขนาดเล็กกว่า 10 มิลลิเมตร ใส่ปริมาณทรายที่มากกว่าปกติ ทำให้ใช้น้ำในการผสมที่มากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดการหกตัวของคอนกรีต มากกว่าคอนกรีตปกติที่ใช้หินขนาดใหญ่และใส่ทราบในส่วนผสมน้อย 2. การเทคอนกรีตทับหน้าแบบเชื่อมประสานบางส่วน เป็นการเทบนพื้นที่ทำความสะอาดแล้ว แต่ไม่ได้กระเทาะผิวเดิมก่อนทาวัสดุเชื่อมประสาน และเทคอนกรีตลงไป การเททับหน้าแบบเชื่อมประสานบางส่วน ความหนาต่ำสุดของการเททับหน้าอยู่ที่ 10 เซนติเมตร พื้นเดิมจะต้องสามารถทำหน้าที่เป็นชั้นรองของวัสดุเททับหน้าเป็นอย่างดี ไม่มีการแตกร้าว จึงจะสามารถใช้การเททับหน้าวิธีนี้ได้ 3. การเทคอนกรีตทับหน้าแบบไม่เชื่อมประสาน เป็นการเททับหน้าโดยมีการปูวัสดุบนพื้นเดิมก่อนเทคอนกรีตใหม่ลงไป วัสดุที่ปูจะทำให้พื้มเดิมกับคอนกรีตที่เททับหน้าใหม่ไม่ประสานติดกัน การเททับหน้าวิธีนี้มักใช้พื้นคอนกรีตเดิมที่อยู่ในสภาพที่ไม่ดี เช่น มีรอยแตกร้าวต่าง ๆ เป็นต้น…

แผ่นพื้นคอนกรีต VS พื้นหล่อในที่ เรื่องพื้น ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

หากว่ากันด้วยการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนนั้น เรื่องของโครงสร้างเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราต้องคำนึงถึงเรื่องของ ความแข็งแรงและคงทนของตัวโครงสร้างเป็นอันดับต้น ๆ ของส่วนทั้งหมด เพราะโครงสร้างของบ้านจะเป็นตัวรับภาระน้ำหนักต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในบ้าน รวมถึงการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว หากโครงสร้างไม่ได้มาตรฐาน ก็จะมีโอกาสทำให้บ้านเกิดการเสียหาย หรือพังทลายได้ง่าย แต่กลับกันหากโครงสร้างของบ้านมีความแข็งแรง ก็จะช่วยลดการสูญเสียลงไปได้มาก พื้นบ้านจัดเป็นส่วนสำคัญอันดับต้นๆ ของโครงสร้างภายในบ้าน เนื่องจากต้องรับน้ำหนักจากแนวดิ่งโดยตรง ไม่ว่าเราจะวางสิ่งของ เครื่องใช้ รวมถึงวัสดุก่อสร้างของบ้านทั้งหลังล้วนแล้วแต่เป็นภาระของพื้นบ้านทั้งสิ้น วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างของพื้นบ้านก็มีด้วยกันหลากหลายชนิด หนึ่งในวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป เนื่องจากราคาแผ่นพื้นจัดอยู่ในระดับที่ไม่แพง และยังมีความแข็งแรง คุ้มค่าในการใช้งาน ไม่ต้องเสียเวลาทำไม้แบบ รวมถึงมีขนาดและความหนาให้เลือกตามการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีพื้นอีกประเภทที่นิยมใช้ไม่แพ้กัน และใช้กันมาอย่างยาวนานแล้ว นั่นก็คือพื้นหล่อคอนกรีต ซึ่งจะใช้ไม้แบบ และการผูกเหล็กในการขึ้นแบบ และใช้คอนกรีตผสมเสร็จเทไปตามแม่แบบเพื่อให้ได้รูปทรง และการรับน้ำหนักตามที่กำหนด (ต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการดูแล และคำนวณการรับน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน) หลังจากนั้นก็รอให้คอนกรีตผสมเสร็จเซ็ตตัวจนสามารถใช้งานได้ หากจะให้สรุปว่าแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป หรือพื้นหล่อคอนกรีตในที่ แบบไหนดีกว่ากัน ก็คงขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน เพราะว่าแต่ละประเภทก็มีข้อดีแตกต่างกันไป แผ่นพื้นคอนกรีต มีความสะดวก คล่องตัว ราคาประหยัด และสามารถรับน้ำหนักที่ได้มาตรฐาน แต่พื้นหล่อคอนกรีตในที่ ต้องใช้เวลาในการติดตั้ง มีราคาค่อนข้างสูง แต่มีความแข็งแรงมาก…