“ปูนขาว” คู่กับ “ปูนเทา” (ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์) มีชื่อเต็มยศว่า “ปูนซีเมนต์ขาว”
ซึ่งโดยความสะดวกควรเรียกชื่อเต็มของเค้าจะดีกว่า เพราะหากเรียก “ปูนขาว” เฉย ๆ มักจะไปพ้องกับปูน
ขาวที่เราใช้ตีเส้นสนามกีฬา หรือใช้ปรับปรุงคุณภาพของดินเปรี้ยว และใช้แช่น้ำเพื่อนำน้ำปูนขาวที่ได้ไป
ผสมกับปูนทรายทำเป็นปูนฉาบ ซึ่งจะเป็นคนละตัวคนละเรื่องกับ “ปูนซีเมนต์ขาว” และนำมาใช้ทดแทนกันไม่ได้ด้วย
“ปูนซีเมนต์ขาว” หากพิจารณาดูรายละเอียดทางเคมีไม่แตกต่างจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา
มากนัก มีเพียงคุณสมบัติของสีเท่านั้นที่เป็นตัวแตกต่างที่เด่นชัดที่สุด แต่ราคาแพงกว่าปูนเทาอยู่พอสมควร
ดังนั้นส่วนใหญ่จึงนำปูนซีเมนต์ขาวมาใช้ในงานตกแต่งด้านสถาปัตยกรรมมากกว่า เช่น งานหินขัด งานหิน
ล้าง งานกรวดล้าง และงานทรายล้าง ด้วยคุณสมบัติการยึดเกาะที่ดี และมีความแข็งแกร่งในตัวสามารถผสม
กับสีฝุ่นได้โดยไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับเนื้อปูนซีเมนต์จึงไม่เหมาะนักที่จะนำไปใช้เป็นคอนกรีตโครงสร้าง
ของอาคาร ทั้งนี้เพราะมีราคาที่สูงกว่าปูนซีเมนต์ธรรมดานั่นเอง
“ปูนซีเมนต์ขาว” ในท้องตลาดแยกเป็นชนิดปอร์ตแลนด์ล้วนๆ กับชนิดที่ผสมวัสดุเฉื่อยเหมาะอย่าง
ยิ่งสำหรับใช้ในงานปูกระเบื้อง เพราะมีค่าการยึดเกาะ (มีคุณสมบัติเป็นกาว) ที่ดี มีระยะการเซตแห้งตัวไม่เร็ว
เกินไป ทำให้มีเวลาในการปรับแต่งแนวกระเบื้องได้อย่างดีและมีมีค่าการยืดหดตัวน้อยทำให้ปัญหาการแตก
ร้าวหลุดร่อนน้อยกว่าพวกปูนซีเมนต์เทา
นอกจากนั้นเมื่อปูกระเบื้องเสร็จและแห้งยึดเกาะกับผนังดีแล้วก็ใช้ปูนซีเมนต์ขาวตัวนี้ในการยาแนวอุดช่อง
รอยต่อของแผ่นกระเบื้องได้ ซึ่งหากต้องการให้ยาแนวมีสีก็ใช้สีฝุ่นผสมให้มีสีเหมือนกระเบื้องก็ทำได้เหมาะ
สมยิ่ง
แต่ที่ท่านสถาปนิกแนะนำหนักแน่นให้ใช้ก็คือ ในการทำงานปูหินอ่อน หรือหินแกรนิต น่าจะให้ปูน
ซีเมนต์ขาวชนิดปอร์ตแลนด์ แทนการใช้ปูนซีเมนต์เทาอย่างยิ่ง เพราะหินอ่อนหรือหินแกรนิตในปัจจุบันมี
การนำหินที่มีอายุไม่มากนักมาใช้งาน ผลก็คือเนื้อหินเหล่านั้นไม่แน่นหนาหรือมีความทึบน้ำไม่เพียงพอต่อ
การซึมน้ำผ่านขึ้นมาที่ผิวหิน หรือซึมฝังในเนื้อหินมีมากซึ่งการแก้ไขปัญหาหลังจากปูหินเสร็จแล้วพบอาการ
ดังกล่าวจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย
ทางที่ดีที่สุด คือ การป้องกันตั้งแต่ต้น โดยควรเริ่มต้นตั้งแต่การเลือกซื้อหินอ่อน หรือหินแกรนิต ที่
จะนำมาใช้นั้นเลยทีเดียว ทดสอบว่าหินที่เราจะซื้อนั้นมีคุณสมบัติที่ดีหรือไม่ ดำเนินการง่ายๆ โดยนำตัวอย่าง
หินที่เราจะซื้อมาพลิกดูด้านหลังแล้วเทน้ำลงที่หลังแผ่นหิน รอดูว่าน้ำจะซึมผ่านเข้าไปเนื้อหิน ในเวลาที่รวด
เร็วเกินไปหรือไม่
ถ้าใช้เวลานานมากกว่าที่น้ำที่เราเทนั้นจะซึมหายไปก็พอที่จะนอนใจได้บ้างว่าเนื้อหินค่อนข้างแน่น แต่ถ้าซึม
หายซึมหายอย่างรวดเร็วก็ให้ลองพลิกด้านหน้าหินที่ขัดมันไว้นั้นแล้วทดลองเช่นเดิมกับที่เราทำด้านหลัง
ด้านหน้าของหินอ่อน ส่วนหินแกรนิตนั้นปกติผู้ผลิตจะขัดมันลง WAX ไว้แล้ว
ดังนั้นหากเราเทน้ำลงไปที่ด้านหน้าของหินเหล่านั้นสมควรที่น้ำซึ่งเราเทไว้จะไม่ซึมหายลงไป หรือหากซึมก็
ต้องน้อยมาก ๆ แต่หากเกิดผลตรงกันข้ามคือน้ำซึมผ่านหน้าหินที่ขัดมันหายไปได้ในเวลาอันสั้น ก็ไม่ควรนำ
หินตัวนั้นมาอยู่ในข่ายการพิจารณาเลือกซื้อของเรา เพราะหากนำมาใช้ แม้จะสวยงามในตอนต้นแต่จะก่อ
ปัญหาหงุดหงิด รำคาญใจให้ท่านภายหลังอย่างไม่รู้จบแน่นอน เช่น ทำกาแฟหก หรือน้ำแกงเลอะเทอะก็จะ
เป็นตราบาปฝังติดค้างแผ่นหินเลยเชียว
ส่วนพวกที่น้ำซึมผ่านเฉพาะด้านหลังของหินพวกนี้ยังพอทำเนาในการนำมาใช้ แต่ควรเป็นการใช้ที่
มีเงื่อนไขดังนี้ครับ
1. ควรใช้ปูนซีเมนต์ขาวในการผสมเป็นปูน-ทรายที่ใช้ปูหินเหล่านั้น เพราะถ้าน้ำปูนจะสามารถซึม
ผ่านแผ่นหินขึ้นมาทำให้สีหินผิดเพี้ยนเป็นด่างดวงได้
2. ควรตรวจดูให้มั่นใจหากพื้นที่เราจะปูหินนั้นเป็นพื้นชั้นล่างต้องมั่นใจว่าไม่มีความชื้นจากดินซึม
ผ่านขึ้นมา จนทำให้หินของเราขึ้นรอยด่าง ถ้ามีปัญหาความชื้นจากดินนี้ควรแก้ไขตั้งแต่ก่อนลงมือปูหิน โดน
การทากันซึมระบบซีเมนต์เบส (CEMENT BASE WATERPROOF COATING) ที่พื้น และขอบผนังก่อนปู
หินด้วยปูนซีเมนต์ขาว
3. เพื่อให้ดีและมั่นใจในการป้องกันการซึมของน้ำหรือความชื้นผ่านแผ่นหิน ควรทาน้ำยากันซึม
ชนิดที่แทรกเข้าไปในเนื้อหินในส่วนที่ไม่ได้ขัดมันทั้ง 5 ด้านก่อนนำไปใช้งานจะดีที่สุด (แต่ราคาค่อนข้าง
แพง) ช่างปูหินอ่อน-หินแกรนิต มักจะแนะนำตัดสินใจเพื่อการหวังผลที่ดีทีสุดได้
4. หากสามารถใช้กาวยาแนวที่มีสีใกล้เคียงกับหินที่ท่านใช้ได้ จะให้ผลทางการกันซึมตรงรอยต่อ
ของแผ่นหินที่ดีกว่าการใช้ซีเมนต์ขาวผสมสีเพราะเปอร์เซ็นต์การทึบน้ำของกาวซีเมนต์ยาแนวจะมีมากกว่า
ปูนขาวผสมสีที่เราผสมเอง และงานหินขัดนั้นจำเป็นอยู่เองที่จะต้องใช้ปูนซีเมนต์ขาวชนิดปอร์ตแลนด์
เพราะต้องรับแรงจากเครื่องขัด