เสาเข็มเจาะ คือ การเจาะลงไปใต้พื้นดิน และเทคอนกรีตลงไปในหลุมที่เจาะขึ้นรูปเป็นเสาเข็มรูปเสา เมื่อปูนก่อตัวแห้ง มีหน้าที่แบกรับนํ้าหนัก
เป็นฐานรากของอาคารตึกรามบ้านเรือนต่างๆ ซึ่งขนาดและจำนวนแล้วแต่เงื่อนไขสภาพแวดล้อมและความต้องการของเจ้าของงาน
ปกติเสาเข็มที่คนเรามักรู้จักเห็นกันทั่วไปตามท้องถนน หรือโครงการใหญ่ๆ หลายหมื่นล้าน พันล้าน โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ทางด่วน จะเป็นแบบตอกหรือที่เรียสกว่าเสาเข็มตอก ใช้เครื่องจักรตอกลงไปในดิน ซึ่งข้อดีของเสาเข็มตอกก็คือ เสาเข็มตอกจะผลิตสำเร็จรูปมาจากโรงงาน เราสามารถตรวจสอบสภาพได้ แต่ข้อเสียก็คือ อย่างที่เราทราบกัน เวลาตอกลงไปในพื้นดินแต่ละที่ดังสะเทือนไปทั่วเมือง มีความสั่นกระเทือนมาก ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้บริเวณหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นชุมชน
ดังนั้น เสาเข็มโดยทั่วไป จึงสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ นั่นเอง นอกจากนี้เสาเข็มเจาะยังแบ่งออกเป็นเสาเข็มเจาะแบบแห้ง และเสาเข็มเจาะแบบเปียก อีกด้วย
เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกไม่เกิน 20 เมตร (ขึ้นอยู่กับระดับชั้นของดิน) ที่สามารถรับน้ำหนักได้120 ตัน วิธีการเจาะก็คือ ทำการเจาะดินลงไป (แบบแห้ง ๆ นั่นเอง) แล้วก็หย่อนโครงเหล็ก เทคอนกรีต ลงไปในหลุม ที่เราเจาะเตรียมไว้ พอเมื่อคอนกรีตแห้งก็จะได้เสาเข็ม ราคาอาจจะแพงกว่าประเภทเสาเข็มตอก แต่ทว่าจะมีข้อดีมากมาย จึงเป็นที่นิยมของวิศกร และช่างวิศกรผู้ควบคุมโครงการต่างๆ เช่น ลดปัญหาการเกิดมลภาวะ ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับแบบเสาเข็มตอก ไม่ว่าเป็นการเคลื่อนตัวของดิน การสั่นสะเทือนของดิน ฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้ ในที่ที่ชุมชน หมู่บ้านต่างๆ เป็นต้น
CR : http://www.boredpile.co.th/ad/เสาเข็มเจาะ-คือ-อะไร/