8 เรื่องที่ต้องตรวจสอบ บ่อพักน้ำทิ้ง
ย่างเข้าเดือน 6 ฝนก็ตกพรำๆ เเต่นี่มันเดือน 7 เเล้วฝนเลยไม่ตกพรำๆ แล้วน่ะสิ มาเป็นพายุฝนกระหน่ำกันเลยทีเดียว พอฝนตกหนักๆ แล้วน้ำไหลลงดินไม่ทันคราวนี้ละปัญหาใหญ่เลย เพราะนอกจากน้ำจะท่วมบ้านเเล้ว น้ำยังชะล้างเอาเศษดินเศษทรายไหลไปลง “บ่อพักน้ำทิ้ง” อีกต่างหาก ทีนี้ก็จะอุดตันสร้างปัญหาให้เราเพิ่มไปอีก
ก่อนอื่นหลายคนอาจจะยังงงๆ ว่าบ่อพักน้ำทิ้งนี่มันคืออะไร เเล้วมีไว้ทำหน้าที่อะไรกันเหรอ มา…จะอธิบายให้ฟังนะ เอาง่ายๆ เลยก็ตรงตามชื่อของมันเลย เป็นบ่อที่ใช้พักน้ำเสียภายในบ้านก่อนจะไหลออกสู่นอกบ้านเรานั่นเอง
เอ้า…เเล้วถ้าเราต่อน้ำทิ้งไปซะเลย จะได้ไม่ต้องมีบ่อให้ยุ่งยาก แบบนี้ได้มั้ย?
เเน่นอนว่าไม่ได้นะจ๊ะ…เพราะถ้าเกิดท่อน้ำทิ้งเเตกหรืออุดตันเราก็จะไม่รู้เลย ทีนี้ผลเสียจะตามมาทำให้น้ำทิ้งไหลลงดินเกิดกลิ่นเเละน้ำเน่าเสียได้
รู้จักบ่อพักน้ำทิ้งไปแล้ว มาดูเรื่องการติดตั้งกันก่อน! (เผื่อไว้ตอนตรวจรับบ้าน)
สำหรับบ่อพักน้ำที่เราใช้กันตามบ้านจะเป็นบ่อพักสำหรับท่อน้ำทิ้งขนาด 6 นิ้ว หรือ 8 นิ้ว ขนาดบ่อกว้าง 40 ซม. ยาว 45 ซม. สูง 40 ซม. หนาประมาณ 2 ซม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตด้วย เเล้วก็จะมีฝาบ่อพักมาให้ด้วย หรือบางทีโครงการก็ทำขึ้นมาเองก็มีเหมือนกัน
? ติดตั้งบ่อพักทุกระยะไม่เกิน 6 หรือ 8 เมตร (ตามกฎกระทรวงไม่เกิน 12 เมตร)
? ติดตั้งบริเวณจุดต่อท่อน้ำทิ้งทุกจุด
? ถ้ามีการเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำ เช่น มุมบ้าน ต้องมีบ่อพัก
? ท่อน้ำทิ้งภายในต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 4 นิ้ว
? ความลาดเอียงของท่อน้ำทิ้งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดไม่ควรน้อยกว่า 1:200 (ทุกระยะ 2 เมตร ท่อต้องต่ำลง 1 ซม.)
คราวนี้ตรวจสอบบ่อพักกันเลย!
1.ตรวจสภาพบ่อพักว่าปกติหรือไม่
เช็กสภาพภายนอกกันสักหน่อยว่าบ่อพักเเตก ฝาบ่อเเตก บิ่น หรือติดตั้งเอียงหรือเปล่า
2.ตรวจสอบระดับปากบ่อพักว่าอยู่ต่ำหรือสูงไปหรือไม่
ทั่วไปแล้วหากบ่อพักอยู่ต่ำกว่าดินจะทำให้ดินหรือทรายไหลลงไปในบ่อพักได้ง่าย เเต่ถ้าติดตั้งสูงไปก็ไม่สวยงามอีก ดังนั้นถ้าให้พอดีๆ ควรติดตั้งเหนือพื้นดินประมาณ 5 ซม. หรือเสมอระดับพื้นดินดีสุด!
3.ตรวจสอบภายในก้นบ่อพักว่าเเตกหรือมีเศษปูนมั้ย
ก้มหน้ามองไปก้นบ่อกันสักนิด เเล้วลองดูว่ามีเศษดิน ทราย หรือเศษขยะหรือไม่ ถ้ามีเศษเหล่านี้มากๆ ก็จะมีปัญหาทำให้ท่อภายในตันเเละน้ำไหลไม่สะดวก
4.ตรวจสอบท่อน้ำทิ้งใยหินว่ามีขนาดไปน้อยกว่า 4 นิ้ว
โดยทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 6 นิ้วนะ
5.ตรวจสอบระดับท่อน้ำทิ้งที่ไหลเข้ามาในบ่อเเละไหลออกจากบ่อ
โดยระดับขอบล่างท่อน้ำทิ้งฝั่งออกต้องต่ำกว่าขอบล่างท่อน้ำทิ้งฝั่งเข้านะ สังเกตกันดีๆ เลย
6.ผนังบ่อพักรอบท่อน้ำทิ้งที่เข้าเเละออกต้องมีการเกราต์ปูนปิดไม่ให้มีรู
ถ้ามีรูก็จะทำให้ดินหรือทรายไหลเข้ามานั่นเอง
7.ตรวจสอบความลาดเอียงท่อน้ำทิ้ง
ลองดูท่อน้ำทิ้งที่ออกจากบ่อพักตัวเเรกไปยังบ่อพักตัวที่สองว่าระดับท่อน้ำทิ้งเอียงได้ระดับหรือไม่ ถ้าเอาแบบละเอียดต้องเช็กระดับขอบล่างหรือขอบบนปลายท่อน้ำทิ้งทั้งสองด้าน โดยปลายด้านที่น้ำออกต้องต่ำกว่าด้านที่น้ำเข้า
เเต่ถ้าตรวจสอบเบื้องต้นก็ใช้วิธีเทน้ำลงไปในบ่อพักตัวเเรกเเล้วไปดูบ่อพักตัวที่สองว่าน้ำไหลปกติมั้ย ถ้าเกิดน้ำไม่ไหลออกเเสดงว่าการลาดเอียงอาจไม่เพียงพอ หรือท่อระหว่างทางเกิดการเเตกหัก
8.เดินดูบ่อพักทุกตัวจนถึงตัวสุดท้ายหลังจากเทน้ำเเล้วน้ำไหลออกนอกบ้านหรือไม่
เพราะบ่อพักของโครงการนั้นอยู่ด้านนอก (รั้วบ้าน) เกิดระดับสูงกว่าตัวบ้าน น้ำในบ้านก็จะไม่ไหลออก กลายเป็นว่าน้ำมาขังในบ้านเราเเทน
เเละนี้ก็เป็นเรื่องการตรวจสอบ “บ่อพักน้ำทิ้ง” จะเป็นตรวจรับบ้านใหม่ หรือว่าเช็กจากบ้านที่อยู่เเล้วก็ได้ทั้งนั้น ถ้าตรวจเเล้วพบปัญหาก็รีบเเจ้งช่างมาจัดการเลย จะได้พร้อมรับมือหน้าฝนแบบนี้ งั้นแอดมินขอตัวไปเปิดฝาบ่อที่บ้านมาตรวจสอบบ้าง!
Cr. https://www.home.co.th/hometips/topic-7896