ปัญหาบ้านทรุด บ้านร้าว สร้างปัญหาปวดหัว ปวดใจ ให้กับเจ้าของบ้านที่เพิ่งสร้าง หรืออยู่อาศัยกันมาซักระยะหนึ่งแล้ว ท่านอาจคิดว่าบ้านที่เราสร้างก็ตอกเสาเข็ม สั่งจากร้านที่มีความน่าเชื่อถือ และได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) แล้วทำไมบ้านยังร้าวจากการทรุดตัวของฐานรากได้อีก แต่ท่านอาจลืมกระบวนการที่สำคัญกระบวนการหนึ่งของการก่้อสร้างไป นั่นคือ การเจาะสำรวจดิน หาความลึกของชั้นดินแข็ง เพื่อคาดคะเนความยาวเสาเข็มที่เหมาะสมในการก่อสร้าง
ทำไมต้องเจาะสำรวจดินก่อนก่อสร้าง ?
โดยปกติแล้วเมื่อท่านทำการก่อสร้างบ้าน อาคารต่างๆ ถ้าท่านไม่ใช่วิศวกรส่วนใหญ่ก็จะทำตามแนวทางที่ผู้รับเหมาก่อสร้างแนะนำ แต่ผู้รับเหมาบางเจ้าต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย (ผมขอย้ำว่าบางราย ไม่ใช่ทุกรายนะครับ) ก็จะตัดการทดสอบที่ตนเห็นว่าไม่จำเป็นออกไป ซึ่งสิ่งแรกๆที่ตัดสินใจตัดออกคงหนีไม่พ้นเรื่องการเจาะสำรวจดินก็เป็นแน่ ในบทความนี้ Engineering Syndrome จะอธิบายให้ท่านเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเจาะสำรวจดินก่อการก่อสร้างอาคาร ว่าไม่ควรมองข้ามและมีประโยชน์อย่างไร
- ทำให้เราทราบประเภทและชนิดของดินใต้พื้นที่ก่อสร้าง เพื่อทำให้ทราบลักษณะเชิงกล เพื่อเลือกใช้ฐานรากได้ถูกประเภท หากดินแข็งพอ อาจเลือกใช้เป็นฐานแผ่
- ทำให้ทราบความลึกของชั้นดินดาน (ดินแข็ง) ว่าอยู่ลึกลงไปเท่าไร เพื่อจะได้คำนวณกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม และคาดคะเนความยาวเสาเข็มที่ต้องใช้ได้
- ลดความผิดพลาดในการตอกเสาเข็ม หากเจอชั้นดินแข็งแต่ไม่หนา ที่ชั้นความลึกน้อยๆ อาจทำให้คนตอกเสาเข็มหยุดตอก เพราะคิดว่าถึงชั้นดินแข็งแล้ว แต่จริงๆสามารถตอกทะลุลงไปได้หากเข่นลงไปอีกซักพัก
- หากดินในบริเวณที่สำรวจมีความผันผวนมาก วิศวกรอาจสั่งให้เจาะสำรวจดินหลายๆหลุมเพื่อเปรียบเทียบ อาจต้องออกแบบฐานรากหลายชนิดเพื่อก่อสร้างอาคารนั้นๆ
ประเภทของการเจาะสำรวจดินที่นิยมใช้ในบ้านเรา
การเจาะสำรวจดิน โดยใช้เครื่องเจาะแบบ Motorized Drilling Rig
เป็นเครื่องเจาะสำรวจดินที่สามารถขนย้ายเข้าจุดเจาะสำรวจดินได้แบบไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าบรรดาหน่วยเจาะสำรวจดิน ว่ากันด้วยเรื่องของความง่าย และประหยัดเวลาในการติดตั้ง ทำให้งานเจาะสำรวจดินเสร็จเร็วขึ้น ในที่นี้ขอกล่าวถึง การเจาะสำรวจดินแบบฉีดล้าง (Wash Boring) ก็จะเป็นในลักษณะของการ ใช้เครื่องสูบน้ำช่วยเจาะด้วยหัวกระทุ้ง (Chopping Bit) ต่อจากก้านเจาะ ปลายบนต่อกับหัวหมุนน้ำ ซึ่งจะต่อไปยังเครื่องสูบน้ำขณะทำการกระทุ้งดินด้วยเครื่องกว้าน จะทำการสูบน้ำฉีดหัวเจาะผ่านรูก้านเจาะตลอดเวลา น้ำที่ฉีดจะไหลวนขึ้นมาพร้อมกับเศษดิน ซึ่งจะมาตกในบ่อน้ำวน จนได้ความลึกที่ต้องการเก็บตัวอย่าง
การเจาะตลอดความลึกของหลุมเจาะ ในชั้นดินเหนียวอ่อน หลุมเจาะจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้วและลดลงเหลือ 3 นิ้ว ในชั้นดินแข็ง ระหว่างดำเนินการเจาะสำรวจดินก็ต้องมีการฝัง Casing ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้วลงไปจนถึงชั้นดินแข็ง เพื่อป้องกันการพังทลายของหลุม และใช้ Bentonite Slurry ช่วยกันดินพังในชั้นทราย ทำการเจาะจนถึงชั้นดินแข็งที่มีค่า SPT-N มากกว่า 50
การเจาะสำรวจดิน ด้วย Rotary Drilling
สามารถเจาะสำรวจดินได้กับทุกสภาพชั้นดิน เป็นลักษณะของเครื่องเจาะสำรวจดินที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยระบบไฮดรอลิก (Hydraulic) เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแทนแรงงานคนและแรงโน้มถ่วง สามารถเจาะสำรวจดินแบบทะลุทะลวงได้ลึกเกินกว่า 40 เมตร โดยใช้เครื่องยนต์ (Rotary Drilling Rig) ที่ส่งกำลังแรงปั่นหัวเจาะลงไปลึก ๆ และ อยู่ในระดับความเร็วที่ต้องการ ดินจะถูกปั่นขึ้นมาตาม (flight auger)
วิธีนี้เครื่องยนต์จะใช้กำลังบิดหัวเจาะมาก ดังนั้นจึงมักเจาะสำรวจดินลงไปในช่วงสั้น ๆ เช่น 1.5 เมตร แล้วยกหัวเจาะขึ้น เพื่อนำดินออก แล้วจึงนำไปเจาะต่ออีก 1.5 เมตร จึงสามารถตรวจลักษณะชั้นดินได้ตลอดความลึก การใช้หัวเจาะผนวกกับการเจาะสำรวจดินแบบฉีดล้าง หรือจะเป็นไปในลักษณะของการเจาะสำรวจดินด้วยความเร็วสูง ทำให้ตัดดินขาดออก พร้อมทั้งปล่อยน้ำ โดยใช้แรงดันน้ำจากปั๊มน้ำแรงดันสูง เพื่อพาดินตัดขาดแล้วกลับขึ้นมาที่ผิวดิน เศษดินหรือหินจะถูกส่งขึ้นมาด้วยน้ำจากก้นหลุมเจาะด้วยหัวฉีดที่อยู่บริเวณหัวเจาะ ในดินแข็งหลุมที่เจาะจะเปิดไม่พังทะลาย
แต่ในลักษณะดินที่เป็น soft clay or sand ต้องสวมท่อเหล็กเพื่อป้องกันดินพังทะลาย หรือไม่ก็ต้องใช้ drilling mud (ส่วนผสมของน้ำกับสาร Bentonite) ผสมลงในน้ำที่ฉีดลงไปในหลุมเจาะ เพื่อป้องกันการพังทลายของหลุมเจาะ นอกจากจะทำให้ผนังและหลุมเจาะไม่พังแล้ว ยังช่วยพาเอาวัสดุเม็ดใหญ่จากก้นหลุมขึ้นมาด้วย เป็นเหตุให้หลุมเจาะสะอาด ในกรณีพบหินแข็งต้องเป็นหัวเจาะเพชรเพื่อกัดลงในชั้นหินให้ได้พร้อมเก็บตัวอย่างแท่งหิน จึงเรียกว่า Rock Coring
ข้อมูลที่บริษัทเจาะสำรวจดินจะให้กับท่าน
หลังจากที่ทำการทดสอบดินภาคสนามแล้ว วิศวกรผู้ทำการทดสอบจะนำดินที่ทดสอบมาทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติของดินตัวอย่าง และคำนวณ จัดทำเป็ฯรายงาน โดยรายงานผลการเจาะสำรวจดินที่ดี ควรมีรายละเอียดหัวข้อดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
- ตำแหน่งหลุมทดสอบในการเจาะสำรวจดิน โดยมีระยะอ้างอิงจากอาคารอื่นๆ หรือเป็นพิกัดด่วเทียม เป็นต้น
- วิธีการเจาะสำรวจดิน ว่ามีขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างไร
- วิธีการเก็บตัวอย่างดิน และ วิธีการป้องกันหลุมเจาะ
- วิธีการทดสอบคุณสมบัติของดิน
- สูตรและวิธีการคำนวณคุณสมบัติของดิน
- แผนภูมิ ตารางและกราฟแสดงคุณสมบัติของดินหลังจากการทดสอบในห้องทดลอง
กราฟ Boring Log แสดงคุณสมบัติดินตามความลึก
ตารางสรุปการเลือกใช้เสาเข็มขนาดต่างๆ
ตัวอย่างนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเจาะสำรวจดินกับสภาวิศวกร
บริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด
196/10-12 ซอยประดิพัทธ์ 14 ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร Website : www.sts.co.th
บริษัท สุวรรณภูมิ วิศวกรที่ปรึกษา จำกัด
67/39 ซ.ลาดพร้าว 113 ถ.ลาดพร้าว หมู่ 1 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10240
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี อี ดี คอนส์
561 153/4 ถ.ประชาสามัคคี หมู่ 2 ต.แสนสุข อ.วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34190
บริษัท เจ แอล พี เอ็นจิเนียริ่ง เซอร์วิส จำกัด
34/671 หมู่บ้านยิ่งรวย (ซอย 5) ถนนเลียบคลองประปา ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11120 Website :http://www.jlp.co.th
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี อี ดี คอนส์
561 153/4 ถ.ประชาสามัคคี หมู่ 2 ต.แสนสุข อ.วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34190
บริษัท พันธ์วิศวกรรม คอนซัลแตนท์ กรุ๊ป จำกัด
118/53 ม.4 ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90110 Website : www.phangroup.co.th
บริษัท ไอพีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
16/3 ซ.1 ถนนศุภสารรังสรรค์ ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90110
บริษัท ขอนแก่น ซอยล์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
160/138 หมู่ที่ 2 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40000 Website : www.kkse.co.th
บริษัท รีล เทสติ้ง คอนซัลแตนท์ จำกัด
91/115 หมู่ 14 ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางบัวทอง อ.บางบัวทอง จังหวัด นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11110
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประเสริฐ คอนสตรัคชั่น แอนด์ เทสติ้ง
200 ม.11ต.ตำนาน อ.เมืองจังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
ห้างหุ้นส่วนจำกัด พาชื่น คอนซัลแตนท์
2501 270 ถนนพโลชัยตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34000
บริษัท บิลดิ้ง เทส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
98 ซอยกาญจนาภิเษก 39 แยก 10 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงดอกไม้ เขตประเวศ จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10250
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภูจันผา
522/159 หมู่ที่ 10 ตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัด เชียงราย รหัสไปรษณีย์ 57000
บริษัท ศรีสวัสดิ์ตรังก่อสร้าง จำกัด
20 ถนนพิศาลสีมารักษ์ ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัด ตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130
บริษัท ศรัณย์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด
299/861 หมู่บ้านมัณฑนา ถนนสุขาภิบาล 5 แขวงสายไหม เขตสายไหม จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10220
สรุป
- หากท่านเจ้าของอาคารไม่มีข้อมูลชั้นดินจากอาคารใกล้เคียง ควรทำการเจาะสำรวจดินก่อนก่อสร้าง
- การเจาะสำรวจดินมีราคาค่าดำเนินการถูก เมื่อเทียบกับมูลค่าตัวอาคาร
- ควรเลือกบริษัท หรือนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพกับสภาวิศวกรรม เนื่องจากได้มาตรฐานการดำเนินการ
Cr. https://ensyndrome.com/soil-boring-important/