การเตรียมพื้นเพื่อเทคอนกรีต
1.เริ่มต้นด้วยการปรับระดับดินเดิมให้เรียบ (ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ) และลดระดับหน้าดินเผื่อความหนา ของทรายและคอนกรีตที่จะเทด้วย
2. ทำการตั้งแบบเทคอนกรีต โดยใช้แบบไม้เนื้อแข็งหรือแบบเหล็กสำเร็จรูปวางตามแนวของเส้นถนน ในขอบเขตความกว้างยาวตามแบบที่กำหนดไว้ แล้วค้ำยันให้แข็งแรง แนะนำว่าความกว้างของถนน ไม่ควรเกิน 4 เมตร ส่วนความยาวของถนนในแต่ละช่วงไม่ควรเกิน 6 เมตร เพราะการยืดหดขยายตัว ของถนนอาจทำให้เกิดรอยร้าวได้
3. เททรายจนได้ระดับความหนา 5 เซนติเมตร แล้วบดอัดด้วยเครื่องตบดินหรือทุบให้แน่น
ขั้นตอนการเทพื้นคอนกรีต
1. เมื่อปรับผิวหน้าดินเรียบร้อยแล้วให้วางตะแกรงเหล็กสำเร็จรูปวายเมท เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มม. ขนาดตาราง 15×15 ซม. (6 mm @15 cm) ไว้ในเนื้อคอนกรีตด้วย โดยตะแกรงเหล็กวายเมทนี้ จะต้องอยู่ต่ำกว่าผิวคอนกรีตประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันรอยร้าวที่ผิวคอนกรีตรวมถึงการ วางตำแหน่งเหล็กเดือย (Dowel Bar)หรือเหล็กยึด (Tie Bar) ตามแบบมาตรฐานเพื่อเสริมความ แข็งแรงในบริเวณรอยต่อตามแนวกว้างและแนวยาวของพื้นคอนกรีต 2. โดยทั่วไปจะใช้วิธีเทคอนกรีตลงไปให้ต่ำกว่าระดับที่ต้องการแล้วเกลี่ยให้ทั่ว จากนั้นวาง ตะแกรงเหล็กวายเมทแล้วเทคอนกรีตทับอีกรอบให้ได้ระดับตามที่กำหนด หรืออาจใช้อีกวิธีหนึ่ง คือการเสริมลูกปูนก่อนจะวางตะแกรงเหล็กวายเมททับลงไป แล้วเทคอนกรีตให้ทั่วพื้นที่จนได้ ระดับตามต่องการ วิธีนี้สะดวกตรงที่การเทคอนกรีตสามารถทำได้ในขั้นตอนเดียว 3. หลังจากเทคอนกรีตลงไปแล้ว ให้ทำการปรับแต่งผิวหน้าให้เรียบร้อย จากนั้นปล่อยทิ้งไว้จน ผิวคอนกรีตเริ่มแข็งตัวและให้บ่มพื้นคอนกรีตโดยฉีดน้ำให้ชุ่มไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้คอนกรีต มีความแข็งแรงเต็มที่ ขั้นตอนนี้นับว่าจำเป็นมากเพราะหากไม่บ่มคอนกรีตหรือบ่มในระยะเวลา ไม่เหมาะสม จะทำให้คอนกรีตมีประสิทธิภาพในการรับแรงต่ำกว่าที่ควร ทั้งยังอาจทำให้สารต่าง ๆ ซึมเข้าสู่เนื้อคอนกรีต ส่งผลให้เหล็กเสริมเป็นสนิมง่าย จนทำให้คอนกรีตเกิดการแตกร้าวเสียหายได้ 4. หลังจากที่พื้นคอนกรีตแข็งแรงขึ้นแล้ว จะต้องกรีดร่องด้วย Saw Cut Machine ตามตำแหน่ง รอยต่อคอนกรีต โดยให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร ลึก 1.5 เซนติเมตร แล้วหยอด ยางมะตอยระหว่างช่อง ป้องกันไม่ให้น้ำซึมลงไปในร่อง รอยต่อ เป็นการป้องกันดินทรุดนั่นเอง
เตรียมเส้นทางสำหรับรถโม่ปูน
การลำเลียงคอนกรีตที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ทำการเทคอนกรีตโดยควรเลือกวิธีที่ไม่ทำให้คอนกรีตแยกตัว และต้องมีความรวดเร็วในการลำเลียงมิเช่นนั้นอาจทำให้คอนกรีตแข็งตัวก่อนการใช้งานได้ ดังนั้นการลำเลียงคอนกรีตที่ดีควรพิจารณาอะไรบ้าง 1. ระยะทางการขนส่งคอนกรีตจะต้องไม่ไกลเกินกว่า รัศมีโดยรอบของแพ้นปูนในระยะ 30 กม. 2. เส้นทางเข้าของรถโม่ จะต้องกว้างมากพอที่จะให้รถผ่านเข้าไปได้ และพื้นดินทางเข้าจะต้องไม่นิ่มจนเกินไป 3. หลังจากรถถึงหน้างานแล้ว พื้นที่สำหรับรองรับคอนกรีตจะต้องพร้อมใช้งานได้ในทันที เนื่องจากอายุการใช้งานของคอนกรีตหลังจากการผสมแล้วจะมีอายุเพียง 2 ชม. หากมากกว่านั้นคอนกรีตอาจจะแข็งตัวก่อนการใช้งานได้ 4. หากต้องการเทคอนกรีตเข้าสู่พื้นที่แคบๆจำเป็นต้องมีสายพานหรือท่อสำหรับลำเลียงคอนกรีตเข้าไปสู่พื้นที่ภายใน
สิ่งที่ไม่ควรทำ ในการเทคอนกรีตผสมเสร็จ
1.เติมน้ำ ขณะเทคอนกรีต จะทำให้สัดส่วนและStrength เปลี่ยนไป ไม่ตรงตามกำหนดในแบบ 2.ไม่จี้หรือกระทุ้งคอนกรีตให้คนกรีตไหลลงทั่วแบบทำให้ เป็นรูพรุนเมื่อแกะแบบ 3.ระยะเวลาในการเทคอนกรีตนานเกิน 1-2 ชั่วโมง จะทำให้คอนกรีตเซตตัวก่อเทจบ 4.ไม่ควรหยุดเทคอนกรีต คานในจุดที่ห่างจากเสาในระยะระหว่างL/4ถึงL/3 ถ้าคอนกรีตไม่พอ ควรหยุดเทคอนกรีตที่บริเวณกึ่งกลางคาน
cr. https://www.pstconcrete.com/th/articles/210739-การเตรียมพื้นเพื่อเทคอนกรีต