ขั้นตอนที่1 ลงปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing)
เมื่อเราตั้งสามขา (Tripod Rig) เข้าตรงตามตำแหน่งแล้ว ให้ทำการใช้ลูกตุ้มและตัวตัก (Bucket) เจาะนำเป็นรู้แล้วตอกปลอกเหล็ก ที่มีความยาวประมาณ 120-140 ซม. ลงดินต่อกันด้วยเกลียว จนกระทั่งถึงชั้นดินแข็งปานกลางพอที่จะป้องกันชั้นดินอ่อนพังทลาย ในขณะลงปลอกจะทำการวัดค่าความเบี่ยงเบนแนวราบ และแนวดิ่งโดยค่าความเบี่ยงเบนที่อนุญาตให้คือ
- ความเบี่ยงเบนแนวราบ 5 ซ.ม. สำหรับเข็มเดี่ยว
-
ความเบี่ยงเบนแนวราบ 7 ซ.ม. สำหรับเข็มกลุ่ม
- ความเบี่ยงเบนแนวดิ่ง 1 : 100 โดยรวม
ขั้นตอนที่2 การขุดดินด้วยกระเช้าเก็บดิน (Bucket)
โดยใช้กระเช้าเก็บดินชนิดที่มีลิ้นเปิดปิด และ ชนิดที่ไม่มีลิ้น ขุดเจาะดินจนได้ระดับความลึกตามการออกแบบที่เราได้ออกแบบไว้
ขั้นตอนที่3 ลงเหล็กเสริมขนาดและความยาวตามที่ออกแบบ
โดยส่วนใหญ่เราจะใส่เหล็กที่มีค่าประมาณ 0.35 % – 1.00 % ของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม ส่วนทาบต่อเป็น 40 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก โดยที่การทาบต่อนั้นจะมัดด้วยลวด (ตามมาตรฐาน ว.ส.ท.) โดยระยะห่างไม่เกิน 20 ซม. และยกเหล็กให้พ้นจากก้นหลุม อย่างน้อย 50 ซม. เมื่อเสร็จแล้วดำเนินการขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่4 การเทคอนกรีต
ส่วนใหญ่จะใส่เหล็กที่มีค่าประมาณ 0.35 % – 1.00 % ของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม ส่วนทาบต่อเป็น 40 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็ก โดยในการทาบต่อนั้นจะมัดด้วยลวด (ตามมาตรฐาน ว.ส.ท.) โดยให้มีระยะห่างไม่เกิน 20 ซม. และยกเหล็กให้พ้นจากก้นหลุม อย่างน้อย 50 ซม.
ขั้นตอนที่5 การถอนปลอกเหล็กด้วยรอกพ่วง
การเทคอนกรีตนั้นควรจะให้สูงกว่าปลายปลอกเหล็ก 3-5 เมตร เพื่อป้องกันการยุบตัวของคอนกรีตซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ โดยสลับการถอนปลอกเหล็กจนหมด และควรเทคอนกรีตเพื่อการสกัดหัวเสาเข็ม ในส่วนที่มีสิ่งสกปรกออกอย่างน้อยประมาณ 1 เท่าของเส้นผ่าศูนย์
ขั้นตอนที่6 เสร็จสิ้นขั้นตอนการเจาะเสา
เมื่อเราเสร็จสิ้นการเจาะเข็มแล้ว การเจาะเข็มต้นต่อไปจะต้องอยู่ห่างจากเข็มที่เจาะเสร็จแล้ว ไม่น้อยกว่า 6เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางและจะต้องมีเวลาให้คอนกรีตเซ็ทตัวใหม่ไม่ตํ่ากว่า 1 วัน