-
-
ในปัจจุบันนี้คอนกรีตมีความสำคัญกับงานก่อสร้างค่อนข้างมากพอสมควร เมื่อเปรียบเทียบวัสดุก่อสร้างที่ใช้งานในประเภทเดียวกัน เช่น ไม้ ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างหลักในสมัยก่อนและปัจจุบันไม้เป็นของหายาก พบว่า คอนกรีตมีความคงทน แข็งแรง สามารถปรับปรุงส่วนผสมเพื่อให้ตรงกับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม คอนกรีตจึงเป็นวัสดุที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าจะเลือกใช้สูตรไหน ระหว่างคอนกรีตผสมเสร็จ หรือ ผสมปูนใช้เอง
คอนกรีต คืออะไร
คอนกรีต เป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติมเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น เมื่อผสมเสร็จคอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่าคอนกรีต ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่
ทำไมคอนกรีต จึงแข็งแรง
คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร ถนน เขื่อน สะพาน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป
คุณสมบัติหลักของคอนกรีตคือการรับแรงอัดสูง ในขณะที่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ (ประมาณ 10% ของแรงอัด) โดยเมื่อต้องการให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึง จะมีการเสริมวัสดุอื่นเพิ่มเข้าไปในคอนกรีตโดยจะเรียกว่า คอนกรีตเสริมแรง หรือ คอนกรีตเสริมเหล็กที่เรียกกัน (โดยเสริมแรงด้วยเหล็ก) วัสดุเหล่านี้จะช่วยรับแรงดึงภายในคอนกรีต ซึ่งงานโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่นิยมใช้คอนกรีตเสริมแรงแทนที่คอนกรีตเปลือย
นอกจากนี้ในงานก่อสร้างยังมีการใช้วิธีการที่เรียกว่า คอนกรีตอัดแรง โดยทำการใส่แรงเข้าไปในคอนกรีตหล่อสำเร็จที่ หล่อมาจากโรงงาน โดยเมื่อนำไปใช้งาน แรงที่ใส่เข้าไปในคอนกรีตจะหักล้างกับน้ำหนักของตัวคอนกรีตเองและน้ำหนักที่ เพิ่มขึ้นมา ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มมากขึ้น โดยงานสะพานและทางยกระดับ นิยมใช้คอนกรีตอัดแรง คอนกรีต จะมีสัดส่วนปูนซีเมนต์ต่อทราย ต่อหิน ดังนี้
- สัดส่วน 1 : 1.5 : 3 จะเป็นงานเสาและโครงสร้าง
- สัดส่วน 1 : 2 : 4 จะเป็นงานพื้น, คาน
- สัดส่วน 1 : 2.5 : 4 จะเป็นงานถนน ฐานราก
อ้างอิงจาก https://th.wikipedia.org/
โครงการสร้างคลังสินค้า บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
สาขาเพชรบุรี (โครงการ C ขนาด 7,600 ตร.ม.)
วัสดุที่ใช้ผสมคอนกรีต
- ปูนซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานก่อสร้างต้องเป็นปูนซีเมนต์ที่บรรจุถุงเรียบร้อยตาม มาตรฐาน ม.อ.ก. หรือเป็นปูนซีเมนต์ที่เก็บในภาชนะบรรจุของบริษัทผู้ผลิตห้ามใช้ปูนซีเมนต์ เสื่อมคุณภาพ เช่น ปูนซีเมนต์ซึ่งแข็งตัวจับกันเป็นก้อน เป็นต้น
- มวลรวมละเอียด ส่วนมากจะเป็นทราย ทรายที่ใช้ผสมคอนกรีตจะต้องมีความละเอียดพอดี ๆ โดยมี Fineness Modulus ระหว่าง 2.3 และ 3.1 ถ้าน้อยกว่า 2.3 จะเข้าลักษณะทรายละเอียดต้องสะอาดไม่มีฝุ่นหรือขยะปะปนมากเกินไป
- มวลรวมหยาบ ธรรมดาเราใช้ทั้งหินย่อยและกรวดเป็นมวลรวมหยาบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการหาวัสดุ ปกติวิศวกรจะระบุไว้ในข้อกำหนดว่าให้ใช้อย่างใด ผู้ควบคุมงานจะต้องคอยตรวจวัสดุที่ส่งเข้ามาอยู่เสมอเป็นประจำเพราะอาจไม่ ใช่วัสดุจากแหล่งเดียวกัน และอาจมีสิ่งแปลกปนได้ เช่น หินผุ หรือหินอื่นที่มีคุณภาพด้วยกว่าที่กำหนด
- น้ำ ในข้อกำหนดต้องเป็นน้ำสะอาดสามารถใช้ดื่มได้ ซึ่งโดยมากมักหมายถึงน้ำประปา ในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำที่สะอาดได้ จำเป็นต้องใช้น้ำที่ขุ่นในการผสมคอนกรีต ต้องทำให้ใสก่อนจึงจะนำมาใช้ได้ โดยอาจใช้ปูนซีเมนต์ 1 ลิตร ต่อน้ำขุ่น 200 ลิตร ผสมทิ้งไว้ 5 นาที หรือจนตกตะกอนนอนก้นหมดแล้ว จึงตักเอาน้ำใสมาใช้ได้ แต่ทั้งนี้น้ำต้องผ่านการทดสอบคุณสมบัติอื่น ๆก่อนนำมาใช้
- บางกรณีข้อกำหนดระบุไว้ให้ใช้สารผสมเพิ่มบางชนิด เช่น สารกันซึม สารกระจายกักฟองอากาศ สารหน่วง และสารเร่งการก่อตัว เป็นต้น ผู้ควบคุมงานจะต้องดูว่าสารผสมเพิ่มที่นำมาใช้จะต้องตรงกับชนิดที่ได้รับ อนุมัติจากวิศวกรผู้รับผิดชอบแล้ว
การผสมคอนกรีตใช้เอง
ในโครงการก่อสร้างขนาดเล็ก อาจทำการผสมคอนกรีตใช้เองในสถานที่ก่อสร้าง ซึ่งสถาปนิคอาจเลือกใช้วิธีผสมด้วยมือ หรือเครื่องผสมคอนกรีตก็ได้
- กรณีถ้าใช้เครื่องที่มีความจุ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือน้อยกว่า ต้องใช้เวลาผสมนานอย่างน้อย 1.5 นาที และให้เพิ่มระยะการผสม 15 วินาที ทุก ๆ ความจุที่เพิ่มขึ้น 0.5 ลูกบาศก์เมตร
- ใส่วัสดุผสมแห้งก่อนและทำการผสมวัสดุแห้ง จากนั้นจึงค่อยใส่น้ำประมาณร้อยละ 10 ลงไปในเครื่องผสม ส่วนวัสดุและน้ำที่เหลือค่อย ๆ ใส่อย่างสม่ำเสมอ และอีกร้อยละ 10 สุดท้ายค่อยเติมไปหลังจากใส่วัสดุผสมหมดแล้ว
- เครื่องผสมต้องหมุนด้วยความเร็วสม่ำเสมอตามที่ผู้ผลิตกำหนด
ข้อควรระวัง: การผสมคอนกรีตโดยใช้วิธีนับบุ้งกี๋ อาจทำให้ส่วนผสมคลาดเคลื่อนได้ง่าย แนะนำให้ใช้กระบะตวง หิน ทราย
คอนกรีตผสมใช้เอง มีข้อควรระวังอะไรบ้าง
- การซื้อส่วนผสมคอนกรีต ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องซื้อ ปูนซีเมนต์ หิน ทรายและสารผสมเพิ่มกับร้านขายวัสดุก่อสร้างเอง
- ส่วนผสมคอนกรีต ช่างอาจลดต้นทุนโดยใช้ปูนฉาบแทนปูนโครงสร้าง หิน ทราย น้ำไม่สะอาด ซึ่งจะมีผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง
- ความแข็งแรงและทนทาน มาตรฐานระยะเวลาการก่อสร้าง ใช้เวลามากกว่าปูนผสนมเสร็จ
- การสูญเสียด้านอื่นๆ ต้องซื้อปูนซีเมนต์ หิน ทราย เผื่อบางครั้งเหลือก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ปูนซีเมนต์ถ้าเก็บไม่ดีก็จะแข็งตัว เสียหาย
- แม้ ราคาต่ำกว่าปูนผสมเสร็จ แต่การผสมคอนกรีตโดยใช้วิธีนับบุ้งกี๋ อาจทำให้ส่วนผสมคลาดเคลื่อนได้ง่าย เพราะการชั่งตวงส่วนผสม ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลทำให้โครงสร้างบางส่วนอ่อนแอ แนะนำให้ใช้กระบะตวง หิน ทราย
คอนกรีตผสมสำเร็จ คืออะไร (Ready Mixed Concrete)
ควบคุมคุณภาพของส่วนผสมได้คงที่ แน่นอน ทำให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพตามที่กำหนด
สถานที่ก่อสร้างใดที่มีถนนดีพอที่รถบรรทุกเข้าถึงได้ ในการก่อสร้างก็มักจะใช้คอนกรีตผสมเสร็จ เพราะรวดเร็ว ต้องการเมื่อไรส่งได้ทันที สามารถควบคุมคุณภาพของส่วนผสมได้คงที่ แน่นอน ทำให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพตามที่กำหนด ไม่ต้องเสียพื้นที่กองวัสดุ เช่น ปูนซีเมนต์ ทราย และหิน ตลอดจนแหล่งน้ำ นอกจากนั้นเปอร์เซ็นต์การสูญเสียคอนกรีตในระหว่างการผสมลำเลียง และเทย่อมลดน้อยลงด้วย ทั้งหน่วยงานก่อสร้างก็สะอาดไม่เลอะเทอะ
อย่างไรก็ดีผู้ควบคุมงานไม่ควรประมาทอย่าถือว่าเป็นคอนกรีตผสมเสร็จ แล้วจะต้องดีเสมอไป เพราะหากผู้รับเหมาก่อสร้างขาดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีคอนกรีต ก็อาจสั่งการผิด ๆ ได้ เช่น กรณีที่เกิดความล่าช้าในการขนส่ง เมื่อคอนกรีตมาถึงสถานที่ก่อสร้างปรากฏว่าน้ำระเหยไปมากจนคอนกรีตกระด้าง คน งานอาจเทน้ำลงไปในโม่ผสมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อันจะเป็นเหตุให้คอนกรีตมี กำลังต่ำได้ในบางกรณีที่ต้องการเทคอนกรีตปริมาณมาก ๆ เช่น ฐานรากขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้คอนกรีตจากโรงผสมหลาย ๆ โรง หากการสื่อสารหรือสื่อความหมายไม่ดี อาจเกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ มีกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นคือ คอนกรีตที่ส่งมามีกำลังอัดสูงสุด (Crushing Strength) ต่าง ๆ กันทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ควบคุมงานไม่รอบคอบพอ ไม่ได้ตรวจสอบ ปล่อยให้เทคอนกรีตที่มีกำลังและคุณภาพต่างกันผสมกันลงไป จะทำให้เกิดข้อสงสัยในคุณภาพของคอนกรีตนั้น จะต้องมีการพิสูจน์ สุดท้ายอาจลงเอยที่ต้องทุบออกทั้งหมด ซึ่งเป็นการเสียเวลาและเงินทองเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นในกรณีเช่นนี้ผู้ควบคุมงานต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ
คุณลักษณะเด่นของคอนกรีตผสมเสร็จ
- วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคอนกรีตมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานงานก่อสร้างทั่วไป
- การควบคุมสัดส่วนผสมของคอนกรีต ด้วยการชั่งน้ำหนักทำให้ได้ส่วนผสมคอนกรีตที่ถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ
- โรงงานคอนกรีตผสมเสร็จได้รับการพัฒนาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่เสมอ และสามารถผลิตคอนกรีตได้ตั้งแต่ 30 -150 ลบ.ม./ชั่งโมง สามารถช่วยให้งานเทคอนกรีตดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และลดจำนวนคนงานที่ใช้ในการผสมคอนกรีตและเทคอนกรีตลงอย่างมาก
- แก้ปัญหางานก่อสร้างที่มีบริเวณงานก่อสร้างจำกัด ไม่สามารถเก็บกองหิน ทราย หรือในงานก่อสร้างที่จะต้องเปลี่ยนสถานที่ที่เทคอนกรีตตลอดเวลา เช่น งานถนน งานคลองส่งน้ำ เป็นต้น
- แก้ปัญหางานก่อสร้างที่ต้องการใช้คอนกรีตปริมาณครั้งละมาก ๆ หรืองานที่ต้องการใช้คอนกรีตเป็นระยะเวลาห่าง ๆ กันซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุนซื้อวัสดุผสมมาเก็บไว้ใช้งานเอง
- ในงานก่อสร้างที่อัตราเทคอนกรีตค่อนข้างช้าสามารถแก้ไขได้โดยการเติมน้ำยาผสมคอนกรีตที่มีคุณลักษณะยืดระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีต
- โดยคอนกรีตผสมเสร็จจะมีราคาแพงกว่า คอนกรีตผสมเองอยู่บ้างเล็กน้อย แต่สามารถทดแทนด้วยคุณภาพของคอนกรีตที่ดีและสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือประหยัดเวลาในการก่อสร้าง
- เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จที่ต้องรับรองคุณภาพของคอนกรีตผสม เสร็จที่จัดส่งให้กับหน่วยงานก่อสร้างภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เช่น กำลังอัดประลัย การยุบตัวเป็นต้น
ข้อแนะนำการใช้คอนกรีตผสมเสร็จ
- เพื่อให้ได้คอนกรีตที่สดเสมอ ระยะทางจากโรงงานก่อสร้างไม่ควรเกิน 15 กิโลเมตร
- เพื่อให้รถคอนกรีตเข้าถึงหน่วยงานได้อย่างสะดวก ถนนเข้าหน่วยงานก่อสร้างต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร สายไฟ สายโทรศัพท์ หรือสิ่งกีดข้างอื่น ๆ ควรอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 4 เมตร
- หากรถผสมคอนกรีตเข้าถึงบริเวณที่จะเทไม่ได้ ควรจัดกะบะขนาดความจุ 0.5-1.0 ลบ.ม. ไว้รองรับคอนกรีต
- เพื่อให้การเทคอนกรีตทำได้อย่างประสิทธิภาพและต่อเนื่องหน่วยงานควรสั่ง คอนกรีตในปริมาณที่เหมาะสมกับวิธีการทำงาน
- เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพควรใช้คอนกรีตให้หมดภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากรถผสมคอนกรีตมาถึงหน่วยงาน
- เพื่อความสะดวกในการจัดส่งคอนกรีตควรเขียนแผนที่แสดงตำแหน่งของหน่วยงานก่อ สร้างอย่างละเอียด ส่งให้โรงงานคอนกรีตผสมเสร็จก่อนการเริ่มการใช้งาน
อ้างอิงจาก: http://arsar.yota-thai.net
การตรวจสอบคุณภาพงานคอนกรีต
การตรวจสอบคุณภาพคอนกรีต สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ เพราะปริมาณน้ำ และคุณภาพของน้ำมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ต่อกำลังของคอนกรีต ไม่ควรใช้น้ำที่มีความขุ่น และมีสารอินทรีย์ผสมอยู่ ทั้งนี้ คอนกรีตจะมีคุณภาพดีจะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน เช่น วัสดุดี ผสมได้ถูกส่วน เทได้ถูกวิธี มีการควบคุมการสูญเสียน้ำได้ดี เป็นต้น
- ตรวจสอบคุณภาพทราย – ทรายที่ใช้ผสมคอนกรีตที่มีคุณภาพดีที่สุดคือ ทรายแม่น้ำ และต้องเป็นทรายที่สะอาด เม็ดคมแข็งแรง แม้บางโครงการอาจจะไม่ได้ระบุไว้ในรายการประกอบแบบ แต่ผู้วิศวกรคุมงานต้องเสนอแนะให้เจ้าของโครงการเสมอ
- ตรวจสอบปูนซิเมนต์ – การตรวจสอบปูนซิเมนต์ จะคำนึงถึง ลักณะของงานที่ต้องการนำปูนซิเมนต์ไปใช้งาน ต้องนำไปใช้ให้ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในแบบ ลักษณะของเนื้อปูนที่บรรจุอยู่ในถุง จะต้องไม่จับตัวกันเป็นเม็ดหรือเป็นก้อน
- ตรวจสารที่ใช้ผสมร่วมในคอนกรีต – สารผสมร่วมจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของคอนกรีต ให้ได้คุณสมบัติของคอนกรีตที่ต้องการ โดยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายจะมี 4 ชนิด ได้แก่
- สารทำให้เกิดฟองอากาศ (Air-Entraining Agent) – เป็นสารที่ทำให้เกิดฟองอากาศขนาดเล็กมากในเนื้อคอนกรีต ป้องกันเนื้อคอนกรีตแตกร้าวในสภาวะอากาศที่มีความชื้นสูง
- สารลดปริมาณน้ำ (Water-Reducing Agent) – สารนี้จะช่วยเพิ่มความเหลวและการยุบตัวของคอนกรีต ในกรณีของคอนกรีตที่ใช้น้ำผสมน้อย เพิ่มความแน่นและแรงยึดหน่วงระหว่างคอนกรีตและเหล็กเสริม
- สารหน่วงการก่อตัว (Slow-Setting Agent) – สารชนิดนี้จะช่วยให้คอนกรีตก่อตัวช้ากว่าปกติ ช่วยเพิ่มเวลาในการเทคอนกรีต ช่วยในงานเทคอนกรีตที่ต้องการให้ต่อเนื่อง เพื่อลดปริมาณรอยต่อในการเท และช่วยลดการแตกร้าวในคอนกรีตขณะที่แข็งตัวด้วย
- สารเร่งการก่อตัว (Rapid-Setting Agent) – เป็นสารทำให้คอนกรีตก่อตัวเร็วกว่าปรกติ ใช้กับงานที่ต้องการถอดแบบได้เร็วหรือให้รับกำลังได้เร็วขึ้น ใช้อุดรูรั่วในเนื้อคอนกรีต
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม: www.thaiengineering.com | www.ridtirud.file.wordpress.com
Key Takeaway
คอนกรีตมีความคงทน แข็งแรง การใช้งานคอนกรีตมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพปัจจุบันการพัฒนาคอนกรีตมีความสำคัญต่อการก่อสร้างลักษณะประเภทต่างๆ จึงมีการปรับปรุงส่วนผสมเพื่อให้ตรงกับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม
- เพื่อให้ได้คอนกรีตที่สดเสมอ ระยะทางจากโรงงานก่อสร้างไม่ควรเกิน 15 กิโลเมตร
- หากรถผสมคอนกรีตเข้าถึงบริเวณที่จะเทไม่ได้ ควรจัดกะบะขนาดความจุ 0.5-1.0 ลบ.ม. ไว้รองรับคอนกรีต
- เพื่อให้การเทคอนกรีตทำได้อย่างประสิทธิภาพและต่อเนื่องหน่วยงานควรสั่ง คอนกรีตในปริมาณที่เหมาะสมกับวิธีการทำงาน
- เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพควรใช้คอนกรีตให้หมดภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากรถผสมคอนกรีตมาถึงหน่วยงาน
Cr. https://www.nextplus.co.th/expert-tips/ready-mix-concrete-vs-site-mix-concrete