การวางท่อระบายน้ำ เป็นการฝังท่อดินเผาในอดีต หรือ การฝังท่อคอนกรีตเป็นแนวในดิน ซึ่งเป็นการระบายน้ำที่เป็นการนำเอาน้ำที่เกินความต้องการหรือน้ำส่วนเกินออกจากพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเข้าทางท่อบริเวณที่มีการวางท่อเอาไว้ เพื่อให้พื้นที่นั้นมีความสะดวกต่อการใช้งานในระยะยาวต่อไป หรือให้เหมาะสมต่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์ ท่อระบายน้ำในปัจจุบันมีการออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานในหลากหลายรูปแบบตามความต้องการใช้งาน และความสามารถในการรองรับน้ำหนักต่าง ๆ
ลักษณะของท่อระบายน้ำ
ท่อระบายน้ำคอนกรีต มีการออกแบบอยู่ 2 รูปแบบ ทั้งแบบทรงกลม และทรงสี่เหลี่ยม ตามลักษณะการนำไปใช้งานเป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
- ท่อกลม
- ท่อกลมแบบลิ้นราง (Tongue and Groove) สำหรับปากท่อแบบนี้เหมาะสำหรับงานระบายน้ำทั่วไป จากอาคารบ้านเรือน โรงงาน และถนนทางระบายน้ำ แบบปากลิ้นราง คือท่อที่ปลายข้างหนึ่งบากเป็นบ่าที่ผิวด้านนอก และปลายอีกข้างหนึ่งบากเป็นบ่าที่ผิวด้านใน เพื่อให้สวมสลับข้างกันได้อย่างเหมาะสม
- ท่อกลมแบบปากระฆัง (Bell and Spigot) หมายถึง ท่อที่ปลายข้างหนึ่งผายออก และปลายอีกข้างหนึ่งเป็นแนวตรง ปลายข้างที่ผายออกสามารถสวมปลายที่เป็นแนวตรงของท่อแบบและขนาดเดียวกันสวมต่อได้ในลักษณะคล้ายระฆัง มีจุดเด่นตรงที่สามารถป้องกันการรั่วซึมได้ดี อาจมีการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการสวมแหวนยางระหว่างท่อเพื่อป้องกันการรั่วซึม สำหรับรูปแบบนี้มักเสริมความทนทานด้วยการผลิตแบบเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มักใช้กับงานระบายน้ำเสียที่ทีการปนเปื้อนสารพิษภายในโรงงาน
- ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กแบบดันลอด (Jacking Pipe) เหมาะกับงานดันท่อโดยเฉพาะ ทั้งงานวางระบบระบายน้ำ งานวางระบบสายไฟใต้พื้นผิวการจราจรและสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างจำกัดเพราะไม่ต้องใช้การขุดเปิดแนวที่กว้างมากนัก สำหรับการวางท่อในลักษณะนี้จำเป็นต้องใช้วิธีการเจาะอุโมงค์ขนาดเล็กแล้วใช้การดันท่อเข้าไปยังอุโมงค์ที่ขุดเจาะไว้ ตัวท่อจึงต้องอาศัยความแข็งแรงที่มากพอในการรองรับแรงดันต่าง ๆ เช่น แรงดันน้ำหนักกดทับด้านบน แรงดันดิน แรงดันน้ำ และแรงดันจากแม่แรงไฮโดรลิคสำหรับดันท่อ
- ท่อเหลี่ยม
ท่อเหลี่ยม หรือ ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กแบบสี่เหลี่ยม (Box Culvert) เป็นท่อระบายน้ำรูปแบบนี้ มักถูกออกแบบมาสำหรับงานระบายน้ำในปริมาณที่มาก เน้นความแข็งแรงคงทน และรองรับน้ำหนักมากได้ดี ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้กับงานระบายน้ำในพื้นที่คมนาคมตามทางเท้าหรือผิวทางจราจร เช่น ถนนทางหลวง และพื้นที่ลำคลอง
ประเภทของท่อระบายน้ำคอนกรีต
งานวางท่อระบายน้ำคอนกรีต ต้องคำนึงถึงประเภทและชนิดของท่อที่ใช้ให้เหมาะสมกับงานเป็นหลัก โดยประเภทของท่อระบายน้ำคอนกรีตสามารถแบ่งได้ ดังนี้
- ท่อระบายน้ำคอนกรีต ท่อคอนกรีต หรือ ท่อ ค.ม.ล. ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีตในอัตราส่วนที่แตกต่างกันตามการใช้งานหรือวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ เหมาะสำหรับงานเดินท่อใต้ดิน ทั้งท่อน้ำทิ้ง และท่อส่งน้ำ โดยจะมีความแข็งแรงสองระดับด้วยกัน คือ standard และ extra strength สำหรับท่อคอนกรีตเหมาะกับงานก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร งานสวนสาธารณะ ลานถนนคอนกรีต และบริเวณที่มีรถวิ่งผ่านไม่มาก สำหรับท่อคอนกรีตประเภทนี้ เหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ทางเดินเท้า บริเวณสวนที่ไม่มีรถวิ่งผ่าน
- ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ ท่อ คสล. คือ ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมแรงรูปแบบหนึ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักด้วยการนำเอาเหล็กมาเป็นตัวช่วย เนื่องจากเหล็กมีความสามารถในการรับแรงดึงได้สูง ส่วนตัวคอนกรีตมีความสามารถในการรับแรงดึงต่ำ เมื่อนำคอนกรีตและเหล็กมารวมเข้าไว้ด้วยกันจะทำให้เกิดการถ่ายแรงระหว่างกันภายใน จึงช่วยให้มีความสามารถในการรับแรงหรือน้ำหนักของวัตถุมากขึ้น หรืออธิบายง่าย ๆ คือ คอนกรีตจะทำหน้าที่รับแรงอัด ส่วนเหล็กจะช่วยเสริมแรงดึงนั่นเอง
ท่อระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ยังมีการผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเฉพาะ หรือที่เรียกกันว่า ท่อ มอก. โดยมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของวัสดุ ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น ปูน มวลผสม เถ้าลอย สารเพิ่มเติม เหล็กเสริม และน้ำ เป็นต้น รวมทั้งกำหนดเกณฑ์การทำและคุณลักษณะต่าง ๆ ของท่อ เช่น ความหนา ความต้านแรงอัด เป็นต้น โดยมีเครื่องหมายและฉลากกำกับเอาไว้ เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพด้านการใช้งานและความปลอดภัยจากการนำไปใช้ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแข็งแรงทนทาน และรองรับน้ำหนักมากๆ เช่น งานก่อสร้างถนน หรือบริเวณที่มีรถใหญ่วิ่งผ่าน โดยสามารถแบ่งแยกออกไปได้อีก 4 แบบ ตามความแข็งแรง ตามความสามารถในการรับแรงต้านทานและแรงกดสูงสุดที่แตกต่างกันในแต่ละชั้น ได้แก่- ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) เหมาะสำหรับงานโครงการหมู่บ้านจัดสรรทั่วไป โครงการส่วนบุคคลที่รถวิ่งผ่าน มีน้ำหนักไม่มากนัก มากนัก 3 ท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก
- ท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก มอก. ชั้น3 (มอก. 3) เป็นท่อที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับงานที่ต้องรับน้ำหนัก โดยส่วนใหญ่งานราชการ หรือโรงงานขนาดใหญ่
- ท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก มอก. ชั้น2 (มอก. 2) เป็นท่อที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับงานที่ต้องรับน้ำหนักมากกว่า มอก. 3 โดยส่วนใหญ่ เช่นกรมทางหลวง การนิคมอุตสาหกรรม งานโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่มักจะเลือกใช้ท่อประเภทนี้
- ท่อคอนกรีตอัดแรงเสริมเหล็ก มอก. ชั้น1 (มอก. 1) เป็นท่อที่ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรมชั้นสูงสุด เหมาะสำหรับงานสนามบิน หรืองานท่าเรือ
ท่อระบายน้ำคอนกรีตทั้งแบบท่อคอนกรีต และท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก มักจะเชื่อมตัวกันด้วยการเข้าลิ้น (Tongue and groove) มีปะเก็นยางขั้นระหว่างกลางสำหรับงานท่อน้ำทิ้ง หรือแบบสวม (Bell and spigot) อัดด้วยปะเก็นยางสำหรับงานท่อส่งน้ำด้วยความดันตามลักษณะการใช้งาน
งานวางท่อระบายน้ำไม่ใช่แค่เลือกเฉพาะชนิดหรือประเภทตามการใช้งานของท่อเท่านั้น แต่ต้องเลือกตามความเหมาะสม และต้องได้มาตรฐานการของท่อระบายน้ำ เพราะการจะเลือกใช้ท่อประเภทใดนั้นมีผลต่อการรับรอง การตรวจสอบต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Cr. https://www.buathaipipe.com/concrete_ditch_lining_type/
บริษัท พี เอส ซี กรุ๊ป(1988) จำกัด จำหน่าย เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ท่อระบายน้ำคอนกรีตอัดแรง (แบบเหลี่ยม) ท่อระบายน้ำคอนกรีตอัดแรง (แบบกลม) แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป