ในการต่อเติมโครงสร้างขยายพื้นที่ของบ้านหรือทาวน์เฮ้าส์ซึ่งมีพื้นที่จำกัดนั้น เสาเข็มที่ใช้มีทางเลือกเพียง 2 แบบ
คือ แบบที่ 1 เสาเข็มคอนกรีตสั้น (เสาเข็มหกเหลี่ยม หรือตัวไอ ขนาด 0.15 ม. ความยาว 4.00 ? 6.00 m.) ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่นัก สามารถใช้แรงงานคนตอกหรือใช้น้ำหนักคนตอกดันให้จมลงได้ แบบที่ 2 เสาเข็มเจาะแบบแห้ง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.35 ถึง 0.60 m. ความยาว 18.00 ถึง 22.00 m. ขึ้นกับสภาพของดินด้านล่าง
เสาเข็มทั้ง 2 แบบ มีข้อดีและข้อเสีย ซึ่งพอที่จะแยกออกมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้ ดังนี้
1. เสาเข็มสั้น
ข้อดี
1.ราคาถูกเมื่อเทียบกับเสาเข็มเจาะ
2.สามารถตอกโดยผู้รับเหมาทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษ
3.ขณะทำการตอก ทำให้เกิดเสียงและแรงสั่นสะเทือนค่อนข้างน้อย เนื่องจากเสาเข็มมีขนาดเล็ก
ข้อเสีย
1.จำเป็นต้องคัดเลือกเสาเข็มที่ใช้ให้ดี เนื่องจากมาตรฐานในการผลิตไม่ดีนัก ความเสียหายมักเกิดขึ้นจากการขนส่งและวางกองอย่างผิดวิธี
2.การตอกเสาเข็ม ผู้รับเหมามักจะใช้วิธีขุดดินนำไปค่อนข้างลึก เพื่อให้สามารถตอกได้ง่าย แต่จะมีผลต่อความสามารถในการรับน้ำหนัก ในขณะตอกควรกำชับให้ผู้รับเหมาเอาดินนำเล็กน้อย เพื่อให้ตั้งเสาเข็มได้ จากนั้นใช้วิธีตอกด้วยสามเกลอจนถึงระดับที่ต้องการ
1.เสาเข็มแต่ละต้นรับน้ำหนักได้น้อย (1.5 ? 2.0 ตัน/ต้น) ทำให้ต้องใช้เสาเข็มจำนวนมาก ฐานรากจึงมีขนาดค่อนข้างใหญ่
2. เสาเข็มเจาะแบบแห้ง
ข้อดี
1.เสาเข็มเจาะสามารถรับน้ำหนักได้ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเสาเข็มสั้น
2.อัตราการทรุดตัวของฐานรากที่ใช้เสาเข็มเจาะน้อยกว่าฐานรากที่ใช้เสาเข็มสั้น
ข้อเสีย
1.ไม่เหมาะสำหรับการต่อเติมอาคารขนาดเล็ก เช่น ห้องครัวชั้นเดียวหรือหลังคาที่จอดรถเพราะราคาเสาเข็มค่อนข้างแพง
2.ขณะทำการติดตั้งเสาเข็มจะมีเสียงดังจากเครื่องลมและเสียงกระแทกของท่อเหล็กดังมาก ทำความรบกวนค่อนข้างมาก
3.ต้องมีการขนดินที่เจาะขึ้นจากหลุมค่อนข้างมาก ทำให้มีภาระในการจัดทำที่ทิ้งดิน
4.ต้องใช้ผู้รับเหมาที่ดำเนินการเจาะเสาเข็มโดยเฉพาะ เพราะต้องมีอุปกรณ์พิเศษในการทำงาน และผู้รับเหมาต้องมีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ
CR : http://www.boredpile.co.th/ad/bored-pile-problems/