ระบบพื้นคอนกรีตอัดแรงในที่(Post-Tension)
ข้อดีในการก่อสร้างพื้นคอนกรีตอัดแรงในที่
1.สร้างพื้นที่ที่มีช่วงห่างเสา (SPAN) ได้มากกว่า พื้น คอนกรีตอัดแรงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับอาคาร ที่มีช่วงห่างเสามาก (ประมาณ 6.50-15.00 ม.) ทำ ให้จำนวนเสาในอาคารลดลง และมีเนื้อที่ใช้สอยกว้าง ขวางกว่า
2.ลดความสูงของอาคารได้ชั้น ละประมาณ 0.30-0.50 เมตร ทำให้สามารถ ลดปริมาณงานกำแพง ทั้งกำแพงห้องและรอบอาคาร นอกจากนั้นสามารถขนาดเสา และ shear wall ลงได้ เนื่องจากรับแรงลมน้อยกว่า
3.การก่อสร้างรวดเร็วกว่าแต่ ละชั้นสามารถสร้างเสร็จภายในเวลา 7-10 วัน เนื่องจากความง่ายในการตั้งไม้แบบท้องเรียบ, จำนวน เสาน้อยกว่า, เหล็กเสริมธรรมดาเป็นเหล็กท่อนตรง ทั้งหมด ไม่มีเหล็กปลอกและการวางลวด
4.ประหยัดค่าก่อสร้างกว่าเพราะ งานทุกอย่างเป็นไปอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และใช้วัสดุกำลังสูง เช่น คอนกรีต, ลวดอัดแรงกำลังสูง ซึ่งราคาแพงกว่าเพียงเล็กน้อย แต่กำลังสูงกว่ามาก
5.ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บวัสดุเช่น เหล็กเสริม ไม้แบบ วัสดุเหล่านี้อาจจะส่ง เข้าหน่วยงาน และยกขึ้นชั้นที่จะทำงานได้เลยไม่จำ เป็นต้องสต็อกของ หรือเตรียมงานมากมาย จึงเหมาะ กับการก่อสร้างในพื้นที่จำกัด
6.จัดพื้นที่ใช้สอยภายในได้ง่ายกว่าเพราะสามารถก่ออิฐได้บนพื้นโดยตรง ทำให้ สะดวกในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตำแหน่งการกั้นห้อง ทั้งขณะก่อสร้างและภายหลัง
7.จัดพื้นที่จอดรถได้มากกว่าเพราะความสูงต่อชั้นน้อยทำให้ทางขึ้นลงของที่ จอดรถสั้นลง
8.ไม่จำเป็นต้องมีฝ้าเพดานโดยมีความสวยงาม (ผิวเรียบ) เหมือนมีฝ้าเพดาน
ข้อกำหนดสำหรับงานพื้นคอนกรีตอัดแรงในที่
1.คอนกรีตจะต้องมีกำลังอัดประลัยไม่น้อยกว่า 320 กก./ตร.ซม. (Cylinder) เมื่อมีอายุ ครบ 28 วัน และไม่น้อยกว่า 240 กก./ตร.ซม. (Cylinder) เมื่อทำการอัดแรง (Stressing)
2.ลวด อัดแรงกำลังสูง ( PC Stand ) เป็น 7- Wire Stress Relieved Uncoated Stand Grade 270 k ชนิด Low Relaxation ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12.7 มม. ( 1/2 นิ้ว ) ตามมาตรฐาน ASTM A416 และ มอก.420
3. Unbonded Tendon ลวดอัดแรงกำลังสูง (PC Stand) ต้องผ่านกรรมวิธี Extruder กล่าว คือ เคลือบด้วยจารบีชนิด Lithium Base และห่อหุ้มด้วย High Density Polyethylene
ความหนาไม่น้อยกว่า 1 มม.อย่างต่อเนื่องตลอด ความยาวของลวด
4. Bonded Tendon
4.1 ท่อร้อยลวดอัดแรง Corrugated Duct จะต้องผลิตขึ้นมาจาก Galvanized Steel Strip หนาไม่น้อยกว่า 0.3 มม.มีลักษณะผิวเป็นลอนทั้ง ภายในและภายนอกท่อ เพื่อให้มี Bonding ระหว่างลวดอัดแรงกับคอนกรีต
4.2 Grouting ต้องใช้ Portland Cement Type 1
5.สมอ ยึด ( Anchorage ) สมอยึดลวดอัดแรง จะ ต้องมีกำลังยึดลวดอัดแรงไม่น้อยกว่า 95 % ของ แรงดึงประลัยระบุของลวดอัดแรงกำลังสูง และต้อง สามารถยึดลวดอัดแรงไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดอายุการใช้งานของโครงสร้าง อนึง สำหรับสมอยึดของระบบ Unbonded Tendon จะต้องมีคุณสมบัติรับกำลังล้าอย่างเพียง พอ โดยสามารถรับแรงกระทำครบวงจร 60%-66%-60% ของกำลังดึงประลัยของลวด อัดแรงที่ความถี่ 10 รอบ/วินาที ได้ไม่น้อยกว่า 2,000,000 รอบ โดยไม่วิบัติ
ขั้นตอนการก่อสร้างของพื้นคอนกรีตอัดแรงในที่
ขั้นตอนที่ 1 ตั้งไม้แบบสำหรับหล่อพื้นคอนกรีตอัดแรง
ขั้นตอนที่ 2 วางเหล็กเสริมล่าง ตามแบบก่อสร้าง
ขั้นตอนที่ 3 วาง PC Stand ตาม Profile ที่กำหนดในแบบ
ขั้นตอนที่ 4 วางเหล็กเสริมบนตามแบบก่อสร้าง
ขั้นตอนที่ 5 เทคอนกรีตของพื้น
ขั้นตอนที่ 6 ทำการ Stressing เมื่อคอนกรีตมี Compresive Sterngth ไม่น้อยกว่า 240 kg./sq.m
ขั้นตอนที่ 7 ค้ำยั้นและไม้แบบ สามารถถอดได้หลังจาก Stressing เสร็จเรียบร้อยในกรณีที่พื้นชั้นต่อไปพร้อมที่จะเทคอนกรีตได้ให้มีค้ำยันตามตำแหน่ง เฉพาะที่กำหนดให้ โดยไม่จำเป็นต้องค้ำยันทั้งชั้น
ขั้นตอนที่ 8 Grounting ด้วยน้ำปูน (กรณี Bonded Tendon)
ที่มา :www.Thaiengineering.com
Cr. http://www.ebuild.co.th/article.php?g_id=3&article_id=117&keyword=
บริษัท พี เอส ซี กรุ๊ป(1988) จำกัด จำหน่าย เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ท่อระบายน้ำคอนกรีตอัดแรง (แบบเหลี่ยม) ท่อระบายน้ำคอนกรีตอัดแรง (แบบกลม) แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป