เสาเข็มถือเป็นองค์ประกอบส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของอาคาร โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายเทน้ำหนักของตัวอาคารลงสู่พื้นดิน โดยถ่ายน้ำหนักจากหลังคา ,พื้น ,คาน,เสา,ตอม่อและฐานราก ลงไปสู่ชั้นดินตามลำดับ
ในอดีตชาวโรมันได้ใช้เสาเข็มที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง และหินในการก่อสร้างจำนวนมาก อาทิเช่น ที่พักอาศัย วิหาร และสะพาน หลังปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา จึงเริ่มมีการพัฒนาจากเสาเข็มไม้ เป็นเสาเข็มปูนเพิ่มมากขึ้น
เมื่อถึงยุคอุตสาหกรรม ระบบฐานรากเสาเข็มได้ถูกพัฒนาต่อยอดแตกแขนงออกมาอีกหลากหลายประเภท ตามความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นจวบจนถึงยุคปัจจุบัน เช่น
– เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Pile)
– เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Pile)
– เสาเข็มคอนกรีตหล่อในที่ (Cast-in-place Concrete Pile)
โดยมีรูปแบบการติดตั้งที่นิยม ดังนี้ เสาเข็มตอก ,เสาเข็มเจาะหล่อในที่ และเสาเข็มเจาะเสียบ
แต่กระนั้นในงานฐานรากเสาเข็มปูนบางประเภท เช่น เสาเข็มตอก อาจก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง และแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเข็ม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่รอบๆ รวมถึงตัวอาคารข้างเคียงที่อาจจะเกิดความเสียหายได้ ฉะนั้นในการดำเนินงานในส่วนฐานรากสำเข็ม ควรมีมาตรการในการป้องกันที่ดี และดำเนินงานอย่างเคร่งครัดตามหลักทางวิศวกรรม และกฏหมาย
เวลาไม่เคยหยุดนิ่ง เช่นเดียวกับเทคโนโลยีการก่อสร้างที่พัฒนามากขึ้นอยู่ตลอดเวลา ระบบฐานรากเสาเข็มจากเดิมที่นิยมใช้คอนกรีตมาอย่างยาวนาน ก็มีตัวเลือกในการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นนั่นก็คือเสาเข็มที่ทำจากเหล็ก
เสาเข็มเหล็ก ถูกออกแบบ และผลิตขึ้น โดยทำมาจากทำมาจากเหล็กกล้า หรือเหล็กแผ่นรีดร้อน โดยผ่านกระบวนการป้องกันสนิม (Hot dip Galvanized) ซึ่งผสานเข้ากับเนื้อเหล็กกล้าโดยตรง จึงช่วยเพิ่มอายุการใช้งานให้ยาวนานมากกว่า 30 ปี เข็มเหล็กมีลักษณะเป็นแท่ง และมีใบเกลียวที่ช่วยยึดเกาะพื้นดิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มการรับน้ำหนักให้กับฐานรากรวมไปถึงเพิ่มแรงกด และแรงถอนให้กับเสาเข็ม โดยตัวเข็มเหล็กจะทำหน้าที่คอยยึดระหว่างโครงสร้างอาคารกับผิวดินเหนือชั้นดินดานเป็นหลัก
เข็มเหล็ก เป็นระบบฐานรากที่ติดตั้งได้อย่างรวดเร็วทั้งในพื้นที่ปกติ และในพื้นที่แคบ ด้วยวิธีการเจาะลงไปในชั้นดินได้เลย โดยลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาเปิดหน้าดิน ,เจาะชั้นดินนำร่อง หรือ เข้าแบบหล่อปูน โดยใช้เวลาเจาะ 30 นาที / ต้น ด้วยการใช้ทรัพยากรแรงงานในการติดตั้งเพียง 2-3 คน เท่านั้น จึงทำให้การดำเนินงานเสร็จเร็วกว่าการติดตั้งเสาเข็มแบบทั่วไปถึง 5 เท่า โดยสามารถดำเนินงานโครงสร้างต่อจากงานฐานรากได้ทันที
ในปัจจุบันงานฐานรากเข็มเหล็กจึงมักจะถูกนำมาใช้ทดแทนฐานรากปูนแบบเดิมมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนงานฐานรากในการต่อเติมอาคารที่พักอาศัย หรือ อาคารขนาดเล็ก รวมถึงใช้ทดแทนเสาเข็มปูนในการก่อสร้างอาคารขนาดไม่เกิน 2 ชั้น นอกจากนี้ยังได้รับความนิยมนำมาใช้กับอาคารประเภทน็อคดาวน์อย่างแพร่หลายจนเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
นอกจากนี้ฐานรากเข็มเหล็ก ยังจัดเป็นระบบงานฐานรากยุคใหม่ที่ช่วยให้สามารถควบคุมเวลา และค่าใช้จ่ายได้โดยไม่บานปลาย เพราะสามารถคำนวณจำนวนแรงงานในการติดตั้ง ค่าขนส่ง และเวลาในการติดตั้งได้ล่วงหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
Cr. https://www.wazzadu.com/article/2959
บริษัท พี เอส ซี กรุ๊ป(1988) จำกัด จำหน่าย เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ท่อระบายน้ำคอนกรีตอัดแรง (แบบเหลี่ยม) ท่อระบายน้ำคอนกรีตอัดแรง (แบบกลม) แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป