การใช้เงินต้องมีการวางแผนฉันใด การสร้างบ้านก็เช่นกันต้องมีการวางแผนฉันนั้น เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการใช้เงินที่ค่อนข้างมากหากเลือกในสิ่งที่
ไม่ถูกต้อง อาจทำให้งบบานปลายในระยะยาวได้ ดังนั้นก่อนสร้างบ้านจึงต้องมีการตั้งทิศทางของตนให้ถูกต้อง เช่นเดียวกับการเตรียมฐานรากหรือการตอกเสาเข็มสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ถ้าไม่มีการเตรียมตัวให้ดี สร้างขึ้นไปก็เสี่ยงที่จะ พังทลายได้
ดังนั้นเสาเข็มจึงมีความสำคัญมากสำหรับบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างเพราะเสาเข็มและฐานรากเป็นสิ่งที่คอยรับน้ำหนักทั้งหมด ของสิ่งปลูกสร้างจึงต้องมั่นใจว่ามีความมั่นคงและแข็งแรง การเลือกใช้เสาเข็มนั้นขึ้นอยู่กับสภาพดินในบริเวณที่ก่อสร้างแข็งมากน้อยแค่ไหน ความลึกของเสาเข็มที่ตอกจึงขึ้นอยู่กับดินส่วนที่แข็งว่าอยู่ลึกแค่ไหน
การแบ่งประเภทของเสาเข็มตามรูปแบบการก่อสร้าง
1.1 เสาเข็มตอก(Drivenpile)คือการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มลงไปในดินจนได้ความลึกที่ต้องการเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยม มากที่สุดเนื่องจากวิธีการก่อสร้างไม่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่ในปัจจุบันมีปัญหาในการก่อสร้างในพื้นที่ที่มีอาคารรอบข้าง เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนใน การตอกและการเคลื่อนตัวของดินที่ถูกแทนที่ด้วยเสาเข็ม เนื่องจากการตอกเสาเข็มมักกระทาโดยผู้รับจ้างที่ ไม่ใช่วิศวกร การควบคุมการตอกจึงต้องกระทาโดยวิศวกรผู้รับผิดชอบโครงการนั้น
1.2 เสาเข็มเจาะหล่อในที่ (Bored pile) คือเสาเข็มที่ก่อสร้างโดยหล่อคอนกรีตลงไปในดินที่ ถูกเจาะเป็นหลุมไว้ล่วงหน้าให้เต็ม เป็นวิธีก่อสร้างที่ช่วยแก้ปัญหาที่พบในการใช้เสาเข็มตอก ท้ังการขนย้ายเสาเข็มเข้าพื้นที่ก่อสร้าง การรบกวนอาคารรอบข้าง เนื่องจากแรงสั่นสะเทือน จากการตอก รวมท้ังการควบคุมตาแหน่งและแนวของเสาเข็ม การเจาะอาจกระทาโดยกระบวนการแห้ง (Dry process)คือการเจาะโดยไม่ต้องใช้น้าช่วยสาหรับกรณีที่ดินข้างหลุม เจาะมีเสถียรภาพ หากดินข้างหลุมเจาะพังทลาย ต้องใส่น้าผสมสาร เบนโทไนท์หรือโพลิ เมอร์ลงไปในหลุมเพื่อช่วยพยุงดินข้างหลุม เรียกว่ากระบวนการเปี ยก (Wet process) สาหรับการเจาะดินสามารถ กระทาได้หลายวิธีได้แก่การเจาะแบบหมุน(Rotarytype)แบบขุด(Excavationtype)และการเจาะแบบทุ้งกระแทก(Percussiontype) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเหมาะกับการก่อสร้างขนาดเล็กในพื้นที่แคบการควบคุมคุณภาพของการก่อสร้างมีส่วนที่สาคัญคือการกาหนด ตาแหน่งของเสาเข็ม การควบคุมแนวการเจาะให้ได้แนวดิ่ง ความ สะอาดและเรียบร้ อยของหลุมเจาะ การติดต้ังเหล็กเสริม และการเท คอนกรีต หากการ ก่อสร้างเสาเข็มเจาะกระทาโดยบริษัทที่ดีและมีประสบการณ์แล้ว วิศวกรของบริษัทจะเป็ นผู้ ควบคุมดูแลคุณภาพของ เสาเข็มเจาะ
1.3 เสาเข็มเจาะเสียบ (Auger press pile) เป็นการใช้เสาเข็มสาเร็จรูป ติดต้ังโดยการเจาะดินให้ เป็ นรูขนาดเล็กกว่าขนาด เสาเข็มเล็กน้อยแล้วกดเสาเข็มลงไปในรู เป็ นการแก้ปัญหาการ สั่นสะเทือนและการเคลื่อนตัวของดิน วิธีนี้สามารถใช้การตอกแทนกดได้ ซึ่งนอกจากลด ปัญหาการสั่นสะเทือนและการเคลื่อนตัวของดินแล้ว ยังช่วยในกรณีที่ต้องตอกเสาเข็มผ่าน ช้ันดินที่แข็งแรงมาก นิยมใช้ เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงซึ่งมีรูกลวงตรงกลาง โดยในระหว่างที่ กดเสาเข็มลงไปน้นั สว่านซึ่งใส่อยู่ในรูเสาเข็มก็จะหมุน เพื่อนาดินขึ้นมา เมื่อกดเสาเข็ม พร้อมกับเจาะดินจนเสาเข็มจมลงใกล้ระดับที่ต้องการก็หยุดกด ดึงดอกสว่านออกแล้วตอก ด้วยลูกตุ้มจนได้ระดับที่ต้องการ
(ขอขอบคุณข้อมูลจากhttps://civil.kku.ac.th/site/wp-content/uploads/2010/08/ฐานรากเสาเข็ม.pdf)