เสาไฟฟ้าคอนกรีตมันพิเศษกว่าเสาคอนกรีตบ้านไหม ?
เคยสังเกตไหมครับว่าเสาคอนกรีตบ้านเมื่อผ่านวันเวลาไปนาน ๆ หลายปี มักจะมีปัญหาเหล็กเส้นข้างในเป็นสนิม และมักจะแตกร้าวทุกต้น เมื่อเปรียบเทียบกับเสาไฟฟ้าที่อยู่กลางแจ้ง ผ่านแดดผ่านฝนในระยะเวลาหลายปีหรือมีอายุเท่ากัน ๆ กลับยังทนทานไม่มีการแตกร้าวแต่อย่างใด
ทุกท่านเคยสงสัยไหมครับว่า เสาไฟฟ้า มันพิเศษกว่าเสาบ้านอย่างไร ? หรือมีเทคนิคในการผลิตพิเศษอะไรหรือเปล่า
เสาบ้านสำเร็จรูปทั่วไป
เมื่อพูดถึง เสาบ้านคอนกรีตสำเร็จรูปทั่วไป ปัญหาที่เรามักจะพบก็คือในเรื่องของความแข็งแรงทนทาน และมักแตกร้าวได้ง่าย เนื่องจากผู้ผลิตบางรายอาจจะใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เช่นเหล็กที่มีขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน ลดการเสริมเหล็ก หรือการหล่อที่ไม่ได้มาตรฐาน มีการลดสัดส่วน หรือเจือจางความเข้มของปูน รวมถึงระยะการบ่มคอนกรีต สุดท้ายก็จะทำให้เสาเกิดการแตกร้าว หรือหักได้ง่าย
เสาไฟฟ้า
ผลิตด้วยวิธีการที่เรียกว่าคอนกรีตอัดแรง ใช้เหล็กเสริมเป็นลวดเหล็กกล้าแรงดึงสูง PC Wire (ผลิตจากเหล็กลวดชนิดคาร์บอนสูง) ต้องใช้อุปกรณ์ในการดึงเหล็ก ซึ่งเป็นอุปกรณ์เฉพาะทางและมีราคาแพง เหล็กที่ใช้ก็มีคุณสมบัติ เป็นสนิมได้ยาก โดยแต่ละมุมเสา จะใช้เหล็ก 4-8 เส้น รวม 4 มุม ก็ 16 ถึง 32 เส้น เหล็กแต่ละเส้น รับแรงดึงมากกว่า เสาบ้านตามกรรมวิธีข้างบน 2 เท่า
คอนกรีตและวัตถุดิบที่ใช้คัดเลือกมาโดยเฉพาะ มีวิศวกรเป็นผู้ออกแบบคำนวณส่วนผสมคอนกรีตทั้งหมด และใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการผสมคอนกรีต ทำให้อัตราส่วนผสมของคอนกรีตได้มาตรฐานสม่ำเสมอกัน เสาไฟฟ้าจึงมีคุณภาพเท่ากันทุกต้น ก่อนเทคอนกรีต จะดึงเหล็กทั้งหมด ให้ยืดออก เมื่อเทคอนกรีตก็ต้องมีการ เขย่าคอนกรีตให้แน่น
เพื่อให้มีช่องวางน้อยที่สุด เมื่อเทคอนกรีตได้สัก 3-5 วัน ก็จะตัดให้เหล็กนั้นหดตัวกลับมา ทำให้ค่าแรงยึดเหนี่ยว ระหว่างลวดกับคอนกรีตมากกว่า แรงอัดในชิ้นงานคอนกรีต มีค่ามากขึ้นคอนกรีตที่ใช้ มีการออกแบบอย่างดี คุณภาพสูง มีความทึบน้ำ สูงมาก ทำให้เสาไฟฟ้ามีความแข็งแรงมากเป็นพิเศษ ลดความเสียหายของผลิตภัณฑ์ในการผลิต และการขนส่งลงได้มากดังนั้น เสาไฟฟ้าจึงมีความคงทนมาก คุณสมบัติทางกล สูงกว่าเสาบ้านสำเร็จรูปอย่างมากชนิด เทียบกันไม่ได้
ขนาดของเสาไฟฟ้าคอนกรีต
สำหรับเสาไฟฟ้าคอนกรีต ที่การไฟฟ้าฝ่ายภูมิภาคเลือกใช้นั้น มีด้วยกัน 6 ขนาด โดยมีรายละเอียด คือ
-เสาคอนกรีต 6 เมตร นิยมใช้เป็นเสาบริการ หรือเสาสำหรับพาดไฟฟ้าสายแรงต่ำ
-เสาคอนกรีต 8 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าต่ำแบบ 1 เฟส 2 สาย และ 3 สาย รวมถึง 2 เฟสแบบ 3 สาย พร้อมกับสายดับไฟถนน เสาคอนกรีต 8 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 490 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์ระดับดินตั้งแต่ 760 กิโลกรัมขึ้นไป ช่วงโฆษณา: ที่โรงงานของเรา มีเครื่องตัดเลเซอร์ขนาดใหญ่ ที่สามารถรับผลิตเสาไฟฟ้าโลหะได้สูงสุด 8 เมตร ตามแบบที่ลูกค้าต้องการ
-เสาคอนกรีต 9 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าต่ำแบบ 3 เฟส 4 สาย หรือแบบ 2 วงจร เสาคอนกรีต 9 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 1,070 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์ระดับดินตั้งแต่ 590 กิโลกรัมขึ้นไป
-เสาคอนกรีต 12 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าสูง บริเวณด้านบนของเสาจะมีการติดตั้งคอนสายไว้ เพื่อรองรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 22-33 KV นอกจากนี้แล้ว ยังมีการติดตั้งหม้อแปลงและอุปกรณ์ต่าง ๆ แบบแขวนไว้อีกด้วย เสาคอนกรีต 12 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 1,265 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์ระดับดินตั้งแต่ 2,550 กิโลกรัมขึ้นไป สำหรับเสาคอนกรีต 12 เมตรรุ่นใหม่ จะมีสายดินแบบลวดตีเกลียว 25 ตมม. ฝังอยู่ในเสาแล้วเรียบร้อย พร้อมติดตั้งได้ทันที
-เสาคอนกรีต 14 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าสูง มีการติดตั้งอุปกร์ด้านบนเสาเหมือนกับเสาคอนกรีต 12 เมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ 1,950 กิโลกรัม มีความต้านทานโมเมนต์ระดับดินตั้งแต่ 3,590 กิโลกรัมขึ้นไป สำหรับเสาคอนกรีต 14 เมตรรุ่นใหม่ จะมีสายดินแบบลวดตีเกลียว 25 ตมม. ฝังอยู่ในเสาแล้วเรียบร้อย พร้อมติดตั้งได้ทันที
-เสาคอนกรีต 22 เมตร มักจะใช้งานกับการจำหน่ายแรงไฟฟ้าสูงขนาด 115 KV มีสายดินแบบลวดตีเกลียว 35 มม. ยาว 2 เมตร ฝังอยู่ในเสาแล้วเรียบร้อย พร้อมติดตั้งได้ทันที
นอกจากนี้ยังมีเสาไฟฟ้าแบบเสาโครงเหล็ก ที่ใช้กับสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่มีแรงดันสูง (69 KV 115 KV 230 KV 500 KV) โดยเสาโครงเหล็กจะทำจากเหล็กฉากที่นำมาประกอบกัน มีความสูง 10 เมตรขึ้นไป แยกออกเป็น 2 ชนิด คือแบบชนิดยึดแน่น และชนิดขยับได้ ในการใช้งานยังมีการแบ่งโครงเหล็กออกเป็นอีก 2 ประเภท คือแบบวงจรเดี่ยว และวงจรคู่
cr. https://www.pstconcrete.com/th/articles/251005-เสาไฟฟ้าคอนกรีตมันพิเศษกว่าเสาคอนกรีตบ้านไหม-?